การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรีขน วิชาชีววิทยา เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Herbart method และเทคนิคการสอนแบบ Jigsaw กับเกณฑ์ร้อยละ 70
3) เปรียบเทียบพฤติกรรมกลุ่มก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Herbart method และเทคนิคการสอนแบบ Jigsaw
4) เปรียบเทียบพฤติกรรมกลุ่ม วิชาชีววิทยา เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Herbart method กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธัญบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบวัดพฤติกรรมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Dependent t-test และสถิติ One sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Herbart method และเทคนิคการสอนแบบ Jigsaw สูงกว่าก่อนเรียน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Herbart method และเทคนิคการสอนแบบ Jigsaw สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
3. พฤติกรรมกลุ่ม วิชาชีววิทยา เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Herbart method และเทคนิคการสอนแบบ Jigsaw สูงกว่าก่อนเรียน
4 . พฤติกรรมกลุ่ม วิชาชีววิทยาเรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ Herbart method และเทคนิคการสอนแบบ Jigsaw สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70