ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ
โรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน นางจุฑารัตน์ เรืองไชย
รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1 ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล ของสตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการ โดยมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจนความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรม ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา และ ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 461 คน ใช้เครื่องมือประเภทแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.48) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.47) รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.49) และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.49)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.49) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.48) รองลงมา คือความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.49) และความเหมาะสมและความเพียงพอของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.49)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.49) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การวางแผน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ การติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.49) และ การดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.49)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 1 มี 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตัวชี้วัด พฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับดีเยี่ยม 83.89 % ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยเรียงลำดับระดับคุณภาพจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ข้อที่ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม 90.58 % รองลงมาคือ ข้อที่ 2 ซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม 87.54 % และข้อที่ 8 มีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม 87.23 %
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.48) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ กิจกรรมตามโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถปฏิบัติได้จริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.46) และโรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.47)