บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย Application kru khemika ร่วมกับ
วิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล รายวิชาวิทยาการคำนวณเพิ่มเติม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนน้ำยืนวิทยา
ผู้ศึกษา นางสาวเขมิกา กุลาศรี
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนน้ำยืนวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล รายวิชาวิทยาการคำนวณเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล รายวิชาวิทยาการคำนวณเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนน้ำยืนวิทยา ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ที่จัดการเรียนรู้ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล รายวิชาวิทยาการคำนวณเพิ่มเติม ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนน้ำยืนวิทยา จำนวน ๑ ห้องเรียน คือห้อง ม. ๖/๑ มีนักเรียนจำนวน ๓๙ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล จำนวน ๙ แผน ๒) Application kru khemika เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ระหว่าง ๐.๓๘ ถึง ๐.๖๙ และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง ๐.๒๕ ถึง ๐.๘๘ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๗ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ Application kru khemika ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) จำนวน ๑๐ ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๘ มีค่าความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๖๓ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
๑. การจัดการเรียนรู้ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล รายวิชาวิทยาการคำนวณเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนน้ำยืนวิทยา ที่ผู้ศึกษา
พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๑.๑๓/๘๔.๘๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแบ่งปันข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่จัดการเรียนรู้ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนก่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่จัดการเรียนรู้ด้วย Application kru khemika ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ¯X=๔.๖๓,S.D.=๐.๕๗