นวัตกรรม การบริหารงานโรงเรียนบ้านแม่แปง
โรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2566
ชื่อผลงาน MAEPANG Model
1.บทสรุป
การดำเนินการบริหารในสถานศึกษาในยุคปัจจุบันนวัตกรรมมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการทำงานขององค์กร ในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 โรงเรียนได้ดำเนินการตามมาตรการตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน โรงเรียน 4 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารงบประมาณ และ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพทางวิชาการและการ เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยให้แกผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และ ประชาชนทั่วไป
สิ่งที่จำเป็นในกระบวนการสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) เป็นทักษะการเรียนรู้ตามแผนการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง มีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลง ของโลกศตวรรษที่ 21เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยในฐานะการเป็นพลเมืองโลก ที่มีการดำรงชีวิตท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี โลกของเศษฐกิจและการค้า โลกาภิวัตน์กับเครือข่าย ความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ และความเป็นโลก มีเทคโนโลยีสอดแทรกเข้าไปในระบบการทำงานและการดำรงชีวิต และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้มีคุณะธรรม จริยธรรมเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสมากขึ้นในการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เชื่อมโยง กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษา แห่งชาติได้วางเป้าหมาย ด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8CS) สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตท่ามกลางการเกิดการ เปลี่ยนแปลงความเป็นสังคมเมืองแทรกอยู่ในความเป็นชนบทเพื่อสามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ในยุคดิจิทัล ที่เน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการแข่งขันนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทักษะเพื่อให้การเรียนรู้ ในศตวรรษที่21 มีคุณลักษณะด้านการเรียนรู้และผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็น ระบบด้วยเหตุผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆสามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในสาขาวิชา ต่างๆ ได้ เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) จึงจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนา ผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการคิด เลขเป็น
โรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) จึงเข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ของผู้นักเรียน จึงได้ร่วมกันสร้างนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนการบริหารงานของสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา สู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
2.ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านที่ 1 ยุทธศาสตร์ในเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ มีวัตถุประสงคหลัก ในการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของคนทุกชวงวัย และด้านที่ 4ยุทธศาสตร์ในเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาค และแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) จึงได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าว หนาทางวิทยาการและเทคโนโลยีของโลกยุคศตวรรษที่ 21 เป็นพลวัตที่ก่อให้เกิดความท้าทายในด้านการ เปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ประเทศเขาสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณในอนาคตอันใกล การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์เป็นผลให้เกิดการเร่งแก้ไขปัญหา ทั้งยังเกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติมีความซับซ้อนและ รุนแรงมากขึ้น ซึ่งภัยในแต่ละด้านลวนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศประกอบกับนโยบาย Quick Win 7 วาระ เร่งด่วน ในเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ เพื่อสร้างวิถีคุณภาพการศึกษา
นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ มุ่งเน้นการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยให้แกผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อตอการมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำส่งเสริมความ ปลอดภัยสร้างความมั่นใจใหสังคม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหามีความเป็นเอกภาพ มีข้อมูล สารสนเทศที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการตาม มาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม ใหเกิดความปลอดภัยใหมากที่สุด และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ นั้นซ้ำอีก เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และ ประชาชนทั่วไป ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และเกิดความปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้แนวทาง การปฏิบัติสอดคลองและเป็นระบบ
3.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานในสถานศึกษา
2. เพื่อดำเนินงานบริหารงานในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้เกิดคุณภาพในสถานศึกษา
เป้าหมาย
1. ผู้บริหาร คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่แปง มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการบริหารในสถานศึกษา
2. โรงเรียนบ้านแม่แปง เป็นสถานศึกษาที่มีนวัตกรรมการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
4. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 ทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใช้อักษรย่อ SBM มาจากคำเต็ม และมีความหมายดังนี้
S School เป็นคำนาม แปลว่า โรงเรียน
B Based เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า เกี่ยวกับฐานหรือพื้นฐาน
M Management เป็นคำนาม แปลว่า การบริหารและการจัดการ
ดังนั้น School-Based Management จึงแปลความหมายว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือการใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารและการจัดการ หรือการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งเกิดจากแนวความคิดเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการกระจายอำนาจทางการศึกษา
นักวิชาการหลายท่านให้แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management หรือ Site Based Management :SBM )ไว้ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหาร และการจัดการศึกษาที่หน่วยปฏิบัติ โดยมีโรงเรียนเป็นฐาน หรือ เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังโรงเรียน ให้โรงเรียนมีอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบ มีความอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไป ภายใต้คณะกรรมการโรงเรียน ( School Board ) หรือ School Committee เก่า ผู้แทนนักเรียน และผู้บริหารโรงเรียน เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปโดยมีส่วนร่วม และตรงตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด
กรมสามัญศึกษา (2545 : 9) ให้ความหมายว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ แนวคิดทางการบริหาร และการจัดการศึกษาที่ให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนด โดยมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะพัฒนา นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษา และร่วมมือดำเนินการทั้งด้าน วิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริการทั่วไป โดยบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วม และการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ถวิล มาตรเลี่ยม (2544 : 41) กล่าวว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการโรงเรียนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ และความต้องการของโรงเรียน นั่นคือ สมาชิกโรงเรียน อันได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง นักเรียน ตลอดจนสมาชิกชุมชน และองค์การอื่น ๆ มารวมพลังกันอย่างเต็มที่ รับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร และการแก้ปัญหา ตลอดจนดำเนินการเพื่อการพัฒนา กิจกรรมด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในระยะสั้น และระยะยาว
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2541, อ้างถึงใน อุทัย บุญประเสริฐ, 2545 : 2) ให้ความหมายว่า การบริหาร และการจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ การจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง
(School Centered Administration) โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียนได้เข้ามามีบทบาทในการให้คำแนะนำ การช่วยเหลือการประเมิน และการอนุมัติ โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการนำมติในที่ประชุมไปใช้ในการจัดการศึกษา
อุทัย บุญประเสริฐ (2545 : 1) กล่าวว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงการศึกษา โดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละโรงเรียน โดยให้คณะกรรมการโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง ครู สมาชิกในชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิ ศิษย์เก่า และผู้บริหารโรงเรียน (บางโรงเรียนอาจมีตัวแทนนักเรียนเป็นกรรมการด้วย) ได้มีอำนาจในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนมีหน้ามีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ โดยให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
จากความหมายที่นักวิชาการทางการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น สรุปได้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง ไปยังหน่วยปฏิบัติ คือ สถานศึกษาโดยตรง โดยให้สถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ มีความอิสระในการตัดสินใจ และบริหารจัดการทั้งในด้าน วิชาการ งบประมาณ การเงิน บุคลากร และการบริหารทั่วไป โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนครู ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่า ร่วมกันบริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน และชุมชนมากที่สุด
หลักการพื้นฐานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
มีนักวิชาการกล่าวถึงหลักการสำคัญในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้หลาย ๆ ท่านด้วยกัน ดังนี้
เดวิด (David , 1989 อ้างถึงใน Cheng , 1996 : 4) กล่าวว่า การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐานต้องประกอบไปด้วยแนวคิดหลักสำคัญ 2 ประการ คือ
1. โรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญสำหรับตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจสั่งการที่ดีควรอยู่ในหน่วยปฏิบัติ จึงควรเพิ่มอำนาจในการบริหารและจัดการงบประมาณให้กับโรงเรียนมากขึ้น และลดการควบคุมจากส่วนกลางลง
2. การมีส่วนร่วมและการมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการปฏิรูปการบริหารการจัดการศึกษา ความสำเร็จของการปฏิรูปไม่ใช่เกิดจากการควบคุมจากภายนอก หากแต่เกิดจากการที่สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนให้ความร่วมมือกันในการตัดสินใจการบริหาร และการปฏิบัติงาน
ถวิล มาตรเลี่ยม (2544 : 42) กล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. หลักดุลยภาพ
2. หลักการกระจายอำนาจ
3. หลักระบบบริหารจัดการตนเอง
4. หลักการริเริ่ม
ธเนศ ขำเกิด (2545 : 149) กล่าวถึง หลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 5 ประการ คือ
1. การกระจายอำนาจ
2. การมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ
3. การบริหารตนเอง
4. การตรวจสอบและถ่วงดุล
5. การยึดหลักธรรมาภิบาล
อุทัย บุญประเสริฐ (2543 : 154 156 ) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 5 ประการ คือ
1. หลักการกระจายอำนาจ
2. หลักการมีส่วนร่วม
3. หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน
4. หลักการบริหารตนเอง
5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ( 2544 : 3-4) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะและความจำเป็นของแต่ละโรงเรียนจะตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือ
1. หลักการกระจายอำนาจ
2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
3. หลักการบริหารตนเอง
4. หลักการพัฒนาทั้งระบบ
5. หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
6. หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อ้างถึงใน ธีระ รุญเจริญ, 2550 : 171) ได้กล่าวถึงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation)
3. หลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Govermance in Education)
จากหลักการทั้ง 3 ประการข้างต้น สามารถกล่าวในรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
การบริหารการใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นจะเป็นการบริหารที่เป็นการกระจายอำนาจดังที่ ธีระ รุญเจริญ (2550 : 166) กล่าวว่า การกระจายอำนาจ คือ อำนาจการจัดการศึกษาให้กับประชาชน สำหรับประเทศไทยจะมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษา
อุทัย บุญประเสริฐ (2546 : 189) ได้กล่าวถึง หลักการกระจายอำนาจ ว่าเป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการจัดการศึกษาในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ อินทิรา หิรัญสาย (2544 : 4) ที่กล่าวว่า การกระจายอำนาจเป็นการาตัดสินใจ และใช้อำนาจของสถานศึกษาผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านวิชาการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป นอกจากนี้ ถวิล มาตรเลี่ยม (2544 : 42) ยังกล่าวถึง หลักการกระจายอำนาจตามแนวทางของ SBM ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบให้การบริหารจัดการโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความยุ่งยากและเพิ่มปัญหามากขึ้น ดังนั้น การกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีพลังอำนาจ และรับผิดชอบในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ยุวดี ศันสนียรัตน์ (2545 : 6) กล่าวถึง หลักการกระจายอำนาจตามแนวทางของSBM ว่า เป็นการตัดสินใจจากส่วนกลางที่สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจใน 3 เรื่องหลัก คือ งบประมาณ และทรัพยากร บุคลากร หลักสูตร หรือโปรแกรมการเรียน โดยให้สถานศึกษามีความยืดหยุ่นในการจัดโปรแกรมการเรียนที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนในพื้นที่นั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของ ธเนศ ขำเกิด (2544 : 149) ที่ได้กล่าวว่า การกระจายอำนาจนั้น เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก และนิพนธ์ เสือก้อน (2545 : 5) ยังกล่าวอีกว่า การกระจายอำนาจนั้นเป็นการสร้างและเพิ่มพลังอำนาจ (Empowerment) ในการจัดการศึกษาของผู้มีส่วนรับผิดชอบในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ผู้บริหารต้องใช้อำนาจกับทีมงาน หรือบุคลากรในการทำงานอย่างเต็มที่ ทั้งอำนาจในการบริหารจัดการ ความรับผิดชอบ การบริหารทรัพยากร และความชอบธรรมต่าง ๆ ในขอบเขตของงานที่ได้รับมอบหมาย
1. การกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจให้กับสายงานในระดับต่ำลงไปจะต้องเกิดขึ้น โดยที่ผู้บริหารไม่เข้าไปก้าวก่าย หรือเข้าไปมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของสมาชิก
2. จะต้องเปลี่ยนความคิด และการปฏิบัติในเรื่องของอำนาจ การควบคุมที่เคยเป็นของผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว มาเป็นการควบคุมด้วยกลุ่มสมาชิก การควบคุมจึงเป็นของทุกคนในองค์การ
3. องค์การจะต้องมีสภาพที่สมาชิกสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มความสามารถและ
ศักยภาพที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขั้นพื้นฐานขององค์การ
รุ่ง แก้วแดง (2546 : 64-65) ได้กล่าวว่า เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา
การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingencey Theory )
การบริหารใยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมอง การบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ การเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด There is one best way สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้การบริการบริหารแบบใด การบริหารในยุคนี้มุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ และเป็นส่วนขยายของทฤษฎีระบบว่า ทุก ๆ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน สถาการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึง หลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
หลักการของการบริหารโดยสถานการณ์
1. ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
o ความแตกต่างระหว่างบุคคล
o ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
o ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
o ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E.Fiedler (1967)
ทฤษฎีระบบ
การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหาร ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม
ความหมาย
ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่
1. ปัจจัยการนำเข้า Input
2. กระบวนการ Process
3. ผลผลิต Output
4. ผลกระทบ Impact
4.2 กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน
กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนที่สำคัญ
แผนผังแสดงขั้นตอนการดำเนินงานการบริหารงานในสถานศึกษา
PDCA คือวงจรบริหารงานคุณภาพ
ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
M = Manegment = การบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
A = Action = การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
E = Evaluation = มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
P = Participation = การมีสาวนร่วมทุกภาคส่วนในการพัฒนาสถานศึกษา บวร
A = Attilude = มีทัศนคติที่ดี ในวิชาชีพ/การปฏิบัติงาน
N = Network = การสร้างเครือข่ายพัฒนาการศึกษา
G = Goal = มีเครื่องมือ/นวัตกรรมการศึกษา
โดยใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงาน
P = Plan คำนึงถึงสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปรับตัว ยอมรับสิ่งใหม่ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากสภาพปัจจุบันปัญหา ด้วยทัศนคติที่ดี คิดเชิงบวก
D = Do เป็นผู้นำ ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยความกระตือรือร้น ใส่ใจ มุ่งมั่น ตั้งใจ และเป็นแบบอย่างที่ดี
C = Check ตรวจสอบและประเมิน ตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน เที่ยงตรงกับประเด็น
A = Act ปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้น ประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายทางการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงาน ห้างร้าน โดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล
มีหลักทฤษฎีการบริหารสถานศึกษา
ทฤษฎีบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School - Based Management : SBM)
4.4 การใช้ทรัพยากร
ประยุกต์ใช้ทรัพยากรในสถานศึกษาที่มีอย่างเหมาะสม คุ้มค่า สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เช่นการจัดสรรงบประมาณให้เกิดความคุ่มค่า ในการดำเนินการและใช้ทรัพยากรคนให้เหมาะสมกับงาน
5. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่จะได้รับ
5.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1. คณะครูบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานในสถานศึกษา
2. มีการดำเนินงานบริหารงานในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
3. สถานศึกษามีคุณภาพได้ตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1. นักเรียน คระครูบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสภานศึกษา มีคุณภาพ
2. สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารที่เหมาะสมกับบริบท
2. คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้าน นักเรียน ครูบุคลากร สถานศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
3. สถานศึกษามีคุณภาพได้ตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6.ปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมความสำเร็จ
สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ
1. ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงาน
2. การดำเนินกิจกรรมมีเวลาที่เพียงพอ
3. บุคลกรครูทุกคนให้ความทุ่มเทในการดำเนินกิจกรรม
4. การร่วมกิจกรรมของนักเรียนมีความพร้อมทุกครั้ง
7. บนเรียนที่ได้รับและข้อเสนอแนะ
การดำเนินการตามนวัตกรรมการบริหาร MAEPANG MODEL ของโรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในตลอดปีการศึกษาโรงเรียนได้ดำเนินการตามมาตรการตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้น เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และ ประชาชนทั่วไป ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และเกิดความปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้แนวทาง การปฏิบัติสอดคลองและเป็นระบบ
โรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 และภาคีเครือข่ายทุกหน่วยงานได้ตระหนักเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาให้กับผู้รับบริการในสถานศึกษาทุกคนให้เกิดความรู้ทัดเทียมในโลกยุคปัจจุบันอย่างยั่งยืน
8. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
การเผยแพร่
1. เว็บไซต์ ครูบ้านนอกดอทคอม
2. เผยแพร่ผลงาน ในกลุ่มโรงเรียนนาพูน
3. ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
รางวัลที่ได้รับ
1.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางวัลสถานศึกษาสีขาว ในระดับ เงิน
2.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับยอดเยี่ยม
3.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางวัลสถานปลอดภัย ระดับยอดเยี่ยม
4.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางวัลสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ระดับดีเยี่ยม