ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการ การสอน
แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อ
พัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวพิมพ์ชนก มณีทัพ
สังกัด โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ 5) แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Pair) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณา การการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้มาจากการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579 แนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2562-2564 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563-2564 และศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความต้องการของผู้เรียน ศึกษาความต้องการของครูผู้สอน พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ มีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน และสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจและการตั้งคำถามทางภูมิศาสตร์ 2) ขั้นที่ 2 สำรวจและการรวบรวมข้อมูล 3) ขั้นที่ 3 อธิบายและการจัดการข้อมูล 4) ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล และ 5) ขั้นที่ 5 ประเมินผล การสรุปและตอบคำถาม พบว่า มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.03/81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6870 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.70
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
1) ผลการทดลองเพื่อยืนยันประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.75/81.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.7114 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.14 ซึ่งมีค่าสูงกว่ากว่าเกณฑ์ ที่กำหนด คือ 0.50
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05
3) ความสามารถทางภูมิศาสตร์ เมื่อเทียบจากเกณฑ์ให้คะแนนระดับคุณภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติและทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60