ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและความใฝ่เรียนรู้ในช่วงวิกฤต
การแพร่ระบาดเชื้อโรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย อนิวัตต์ ตั้งธีรโชติกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2564
คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบยืดหยุ่น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความใฝ่เรียนรู้, ช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการเรียนรู้ และแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบยืดหยุ่น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและความใฝ่เรียนรู้ในช่วงวิกฤตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาร่างรูปแบบ สร้างรูปแบบ ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบยืดหยุ่น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและความใฝ่เรียนรู้ในช่วงวิกฤตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความใฝ่เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในช่วงวิกฤตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบยืดหยุ่น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยประยุกต์แนวคิดแบบยืดหยุ่น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและความใฝ่เรียนรู้ในช่วงวิกฤตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง รวม 61 คนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 29 คน เป็นกลุ่มทดลอง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 31 คนเป็นกลุ่มควบคุมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดความใฝ่เรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ttest for Independent Samples และ Two Way ANOVA Repeated Measures
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่อยู่ในระดับมากมี 2 ประเด็นคือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความใฝ่เรียนรู้
2. รูปแบบการเรียนที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 1) ขั้นนำและเชื่อมโยง (Form Up Step : F) 2) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Cooperative Learning Step : C) 3) ขั้นนำเสนอความรู้ (Breif Step : B) 4) ขั้นสรุปความรู้ (Learning Conclusion Step : L) 5) ขั้นฝากงานค้นคว้า (Preparing to Step : P) ผลการประเมินความเหมาะสมพบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดมีความสอดคล้องกันทุกขั้นตอนและ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและความใฝ่เรียนรู้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อโรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนมีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความใฝ่เรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและความใฝ่เรียนรู้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อโรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนน หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05