การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 4 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร จำนวน 156 คน และครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และกลุ่มที่ 3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 2 “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล โดยขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข และขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาหรือผลการแก้ปัญหาในรูปแบบผังมโนทัศน์
2. ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ( = 4.30) และสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีนักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = 0.70)
โดยสรุปรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 6 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วนรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ดังนั้น ผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนและกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดตามไปด้วย