ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง
ผู้ประเมิน นายวิชิต กลิ่นหอม
ปีที่ประเมิน 2565
บทสรุป
การประเมินโครงการครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินของ Marvin C.Alkin มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อ 1) ประเมินระบบของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง 2) ประเมินเพื่อวางแผนโครงการพัฒนา สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง 3) ประเมินการนำไปใช้ หรือการดำเนินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง 4) ประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง 5) ประเมินเพื่อการยอมรับโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) ครูโรงเรียนบ้านขุนกำลัง จำนวน 21 คน เป็นกลุ่มประชากรประชากรทั้งหมด 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านขุนกำลัง จำนวน 15 คน เป็นกลุ่ม ประชากรประชากรทั้งหมด 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 120 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane’ จากจำนวนผู้ปกครองนักเรียน 165 คน และ 4) นักเรียน จำนวน 120 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane’ จากจำนวนนักเรียน 165 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนได้มา โดยวิธีการลุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมินโครงการ เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ มีจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถาม ความคิดเห็นการประเมินระบบของโครงการ การประเมินเพื่อวางแผนโครงการและประเมินการ นำไปใช้หรือการดำเนินโครงการ สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการ สำหรับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินเพื่อการยอมรับ โครงการ ด้านความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน และฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินเพื่อการยอมรับโครงการด้านความพึงพอใจ ของนักเรียน
การประเมิน พบว่า
1. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง มีความคิดเห็นต่อระบบของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน บ้านขุนกำลังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินระบบของโครงการ ทั้งในภาพรวม และรายการทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง มีความคิดเห็น ต่อการวางแผนโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินการวางแผนโครงการ ทั้งในภาพรวม และรายการทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง มีความ คิดเห็นต่อการนำไปใช้หรือการดำเนินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินการ นำไปใช้หรือการดำเนินโครงการทั้งในภาพรวม และรายการทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง มีความคิดเห็น ต่อการปรับปรุงโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินการปรับปรุงโครงการทั้งใน ภาพรวม และรายการ ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผลการประเมินเพื่อยอมรับโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนกำลัง พบว่า
5.1 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความ พึงพอใจต่อโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนบ้านขุนกำลังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการทั้งใน ภาพรวม และรายการทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
5.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนกำลัง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความ พึงพอใจต่อโครงการทั้งในภาพรวม และรายการทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน