ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นงลักษณ์ จูมสีมา
หน่วยงาน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการที่จำเป็นของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับการจัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับการจัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จำนวน 17 คน และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 40 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดย
วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และระยะที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ 6) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดของนักเรียนในการทำแบบทดสอบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20ข้อ และ 8) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพความต้องการและความจำเป็น นักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย (1) แนวคิด ทฤษฎีหลักการ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้(4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ และ (5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้2) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ด้วยรูปแบบ ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 81.16/80.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ แบ่งเป็น 1) ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบ เท่ากับ 82.17/81.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใoการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน แบ่งเป็น 3.1) การวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบทดสอบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ 3 ใน 5 ด้าน และระดับ 2 ใน 3 ด้าน 3.2) ผลจากการสัมภาษณ์ในด้านที่ 1 และด้านที่ 7 พบว่า มีความสอดคล้องกับแบบทดสอบในกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในระดับ 3 แต่นักเรียนที่อยู่ในระดับ 2 จากแบบทดสอบเมื่อทำการสัมภาษณ์พบว่า นักเรียนอยู่ในระดับ 3
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบ แบ่งเป็น 1) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้หลังจากได้ทำการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้แล้วได้พบข้อควรปรับปรุงของแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนในครั้งต่อไป ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14-16 บทประยุกต์ต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อดิจิทัล เทคโนโลยีให้เห็นเพิ่มเข้าไป และการนำเรื่องดังกล่าวเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน และนำเสนอให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้มีการปรับใบกิจกรรม ใบงานและแบบทดสอบท้ายแผนแต่ละแผนให้กระชับ
และไม่มากจนเกินไป