ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางกรรณภัทร กิ่งทอง
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 แผน แผนละ 6 ชั่วโมง รวมเวลา 24 ชั่วโมง แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
ผลการวิจัยพบว่า
1) แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 4 เล่ม เล่มที่ 1 คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กก เล่มที่ 2 คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กด เล่มที่ 3 คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กน เล่มที่ 4 คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กบ ประสิทธิภาพของการเรียนการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 84.06/86.43
2) ผลการเพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมพบว่านักเรียน พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 2.72, S.D. = 0.05) มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.77 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72