การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์ (ชุมคณานุสรณ์) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) โดยยกร่างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model แล้วจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน และครูจำนวน 10 คน จากนั้นจึงปรับปรุงรูปแบบ BANPO Model เพื่อใช้ในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อไป ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียน บ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนบ้านโพธิ์ (ชุมคณานุสรณ์) จำนวน 10 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู ทักษะที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู และด้านเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์ (ชุมคณานุสรณ์) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 10 คน โดยใช้แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) พบว่า
รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) เป็นกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริม ปรับปรุงการสอนของครูให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูเกิดจากกระบวนการปฏิบัติตามแนวทางของการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model โดยมีหลักการที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมปรึกษาหารือ วางแผนวิเคราะห์ สังเกตการสอน ลงมือปฏิบัติ และให้ข้อมูลย้อนกลับจนประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งผู้นิเทศจะให้คำชี้แนะแก่ผู้รับการนิเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้ด้วยตนเอง และให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้รับการนิเทศที่มีประสบการณ์น้อยหรือเริ่มทำงานให้ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) พบว่า
2.1 ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model มี 5 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 เริ่มกำหนดเป้าหมาย (B : Begin Goal Searching) ขั้นที่ 2 จัดกิจกรรมร่วมประสบการณ์ (A: Activity share experience) ขั้นที่ 3 การจัดการดำเนินงานที่ดี (N : Nice operation management) ขั้นที่ 4 ฝึกฝนพัฒนาเพื่อเรียนรู้ (P : Practice develop to Learn) และขั้นที่ 5 สร้างโอกาสสู่ชุมชน (O : Opportunities for community)
2.2 ผลการประเมินความความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (x ̅ = 4.34, S.D.= 0.54) และเมื่อพิจารณา รายการประเมิน พบว่า รายการที่มีความเหมาะสมมากที่สุดจำนวน 10 รายการและรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การนำแนวคิดมาพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสม (x ̅ = 4.77, S.D.= 0.45) ส่วนรายการอื่น ๆ มีความเหมาะสมในระดับมากจำนวนรายการ 12 รายการ
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) พบว่า
3.1 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู พบว่า ก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ย 7.50 หลังอบรมมีค่าเฉลี่ย 18.10 และทำการทดสอบโดยใช้ค่าสถิติทดสอบที (t-test dependent) พบว่า ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู หลังจากได้รับการส่งเสริมสมรรถนะสูงกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมสมรรถนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูอยู่ใน ระดับมาก (x ̅ = 4.45, S.D.= 0.72) และเมื่อพิจารณารายการประเมินด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า จุดประสงค์การเรียนรู้ถูกต้อง ชัดเจน สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.54, S.D.= 0.64) และด้านทักษะการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครู พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเน้นความร่วมมือ มีความเป็นกัลยณามิตรอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.65, S.D.= 0.53)
3.3 ครูผู้สอนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.60, S.D.= 0.89) และพบว่า ในประเด็นรายการ ข้อที่ 14 การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยนมากที่สุด (x ̅ = 4.74, S.D.= 0.43)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPHO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์ (ชุมคณานุสรณ์)
ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อมีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model เพื่อส่งเเสริมสมรรถนะการใช้สื่อของครูโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.59, S.D.= 0.61) และเมื่อพิจารณารายการประเมิน พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การนิเทศภายในสถานศึกษาด้วย BANPO Model การช่วยให้ครูวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (x ̅ = 4.83, S.D.= 0.41) ส่วนรายการอื่น ๆ มีความพึงพอใจในระดับมากและมากที่สุด