ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ
โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้รายงาน : มนิต เพชรสุวรรณ
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา 2565 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน คณะครูในสถานศึกษา จำนวน 85 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,442 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,442 คน รวมจำนวนทั้งหมด 2,988 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คณะครูในสถานศึกษา จำนวน 70 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 304 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 304 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน รวมจำนวนทั้งหมด 690 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 1 2) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 2 3) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 3 4) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ฉบับที่ 4 5) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ฉบับที่ 5 และ 6) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ฉบับที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.51, S.D. = 0.59) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) (x̄ = 4.50, S.D. = 0.55) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) (x̄ = 4.46, S.D. = 0.60) และด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ = 4.44, S.D. = 0.49) ตามลำดับ โดยผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.51, S.D. = 0.59)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า มีผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.50, S.D. = 0.55)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า มีผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D. = 0.49)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า มีผลการประเมินโดยรวมด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46, S.D. = 0.60) และมีผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.59)
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะครูในสถานศึกษา มีภาพรวมการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D. = 0.59) และมีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในระดับมาก (x̄ = 4.49, S.D. = 0.55)
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีภาพรวมการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.43, S.D. = 0.61) และมีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในระดับมาก (x̄ = 4.46, S.D. = 0.61)
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีภาพรวมการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D. = 0.61) และมีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D. = 0.61)