แบบเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2566
ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ยอดเยี่ยม
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางพัชรี ภูนฤมิต
ประเภทสถานศึกษา : ขนาดเล็ก
ประเภทผลงาน : ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
โรงเรียน : บ้านเกาะวิทยา อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผลงาน การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยกิจกรรมการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
1.1 ความสำคัญสภาพปัญหา
โรงเรียนบ้านเกาะวิทยาเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง ครอบครัวแตกแยกอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับปานกลางและอ่อน โรงเรียนบ้านเกาะวิทยามีครูคณิตศาสตร์เพียงหนึ่งคน มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 22 คน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาพื้นฐานจำนวน 1.0 หน่วยกิตจำนวน 2 ชั่วโมง รายวิชาเพิ่มเติมจำนวน 1.5 หน่วยกิตจำนวน 3 ชั่วโมง รวมเรียนคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่เป็นนักเรียนเดิมจากมัธยมศึกษาตอนต้น ครูผู้สอนจึงรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งด้านการเรียนและด้านครอบครัว จึงได้ศึกษาวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และพบว่าการจัดกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเหมาะสมและสามารถแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้มากที่สุด
เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นการจัดการความรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม (Learning Before Doing) เพื่อแสวงหาผู้ช่วยที่มีความแตกต่าง มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ เพื่อขยาย กรอบความคิดให้กว้างและมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น เปิดมุมมองความคิดที่หลากหลายจากการแลกเปลี่ยนระหว่างทีมที่มีทักษะ ความสามารถ และ ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่มองอะไรเพียงด้านเดียว เป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่ง นักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการ ปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการ เรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศ เพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
กิจกรรมวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีโอกาส เรียนรู้ได้ด้วยตนเองเป็นการกระจายบทบาทการสอนจากครูไปสู่นักเรียนนับว่าเป็นวิธีการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและได้มีผู้กล่าวถึงความหมายไว้ดังนี้
ชูศรี วงศ์รัตนะ และคณะ(2545) กล่าวว่าการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer-Assisted Learning) เป็นการเรียนรู้โดยให้นักเรียนช่วยเพื่อนซึ่งกนและกันแทนที่ครูจะเป็นผู้สอนโดยตรงเป็นการสอนตัวต่อตัวที่เพื่อนอาจช่วยเหลือแนะนำเพื่อนโดยตรง หรือใช้สื่อการเรียนรู้อื่นมาประกอบ เช่น แบบฝึก หนังสือเรียนเล่มเล็กบทเรียนสำเร็จรูป วีดีทัศน์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนซึ่งมีลักษณะเป็นการเรียนรู้
ระหวางกัน ถ้าครูผู้สอนและผู้เรียนคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยที่ตรูเป็นที่ปรึกษาและคอยดูแลนักเรียนตลอด
Imel (1994) กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนจับคู่สอนกนเอง
Thomas (1993) กล่าวว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนที่มีความสามารถ ทางการเรียนสูงกว่าและได้รับการฝึกฝน รวมทั้งอยู่ภายใต้ความควบคุมจากครูผู้สอนช่วยเหลือผู้เรียนคนอื่นในการเรียน โดยเป็นผู้เรียนที่อยูในระดับชั้นเดียวกัน
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง การจัดกิจกรรม การเรียนรู้เป็นคู่หรือกลุ่มย่อยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้สอนและผู้เรียน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกบบทเรียน ครูผู้สอนมีบทบาทหน้าที่เป็นพียงผู้ให้คำ แนะนำและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน
1.2 แนวทางแก้ไขและพัฒนา
การศึกษาผู้เรียนรายบุคคลทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมด้านการเรียน ความรู้พื้นฐาน ภาวะการเป็นผู้นำ สติปัญญา นอกจากนั้นการทำงานที่มอบหมาย เช่น แบบฝึกทักษะถ้าเป็นแบบเดียวกันผู้เรียนจะทำเหมือนกันโดยไม่ได้ผ่านการคิดหรือฝึกทักษะเลย ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าได้เลือก รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน บูรณาการกับแบบฝึกทักษะเพื่อผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยการร่วมคิดร่วมฝึกเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มคนเก่งช่วยคนที่อ่อนกว่าและนำเสนอขั้นตอนการคิด โดยครูใช้คำถามตอบให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ
2. จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน
จุดประสงค์
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยกิจกรรมการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ได้กำหนดจุดประสงค์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์
เป้าหมายเชิงปริมาณ : นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา จำนวน 22 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีระดับผลการเรียน 2.5 ขึ้นไป
ร้อยละ 80
2. ผลสัมฤทธิ์ O-NET นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น
3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์