แบบตอบรับการเผยแพร่และการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการบริหาร
................................................................
1. ชื่อนวัตกรรมการบริหาร
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนพัทลุงโดยใช้รูปแบบ PT LEARN MODEL
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ต้องสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการบริหาร
โรงเรียนพัทลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนยอดนิยมชั้นนำประจำจังหวัดพัทลุง จัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษหลายด้าน เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และความเป็นเลิศทางด้านดนตรี กีฬา เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านทรัพยากร (4M) เป็นโรงเรียนที่มีระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อโดยวิธีสอบคัดเลือก ผู้สร้างนวัตกรรมในฐานะผู้บริหารโรงเรียนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนพัทลุงโดยใช้รูปแบบ PT LEARN MODEL
3. จุดประสงค์การดำเนินงาน
3.1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการ
3.2 เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
4. วัตถุประสงค์ของการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการบริหาร
4.1 เป้าหมายการดำเนินงาน
เชิงปริมาณ
4.1.1 ครูร้อยละ 90 ดำเนินงานตามนโยบาย แผนปฏิบัติการ และแผนพัฒนาการศึกษาบรรลุเป้าหมายตามกิจกรรม/โครงการ
4.1.2 ครู นักเรียน ร้อยละ 90 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน
4.1.3 ครูร้อยละ 90 ออกแบบ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบ Active Learning
4.1.4 ครูร้อยละ 90 มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
4.1.5 ครูร้อยละ 90 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
4.1.6 ครูร้อยละ 90 ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
4.1.7 คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ร้อยละ 90 มีส่วนร่วมร่วมในการจัดการศึกษา
เชิงคุณภาพ
ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ PT LEARN MODEL เพื่อพัฒนานักเรียนของโรงเรียนพัทลุงสู่ความเป็นเลิศ มีศักยภาพรอบด้าน นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนให้ความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนยอดนิยมชั้นนำประจำจังหวัดพัทลุง
4.2 ขอบเขตของเนื้อหา
องค์ประกอบที่ 1 P : Policy หมายถึง นโยบาย แผนปฏิบัติงาน และแผนพัฒนาการศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 T : Technology หมายถึง การอบรม เทคโนโลยี นวัตกรรมในการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 3 L : Learning หมายถึง การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
องค์ประกอบที่ 4 E : Evaluation หมายถึง การวัดและประเมินผลที่หลากหลาย
องค์ประกอบที่ 5 A : Advance หมายถึง ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
องค์ประกอบที่ 6 R : Research หมายถึง การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 7 N : Network หมายถึง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วน
4.3 ขอบเขตของระยะเวลา ปีการศึกษา 2566
5. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์
เชิงปริมาณ
ครูร้อยละ 90 ดำเนินงานตามนโยบาย แผนปฏิบัติการ และแผนพัฒนาการศึกษาบรรลุเป้าหมายตามกิจกรรม/โครงการ
ครู นักเรียน ร้อยละ 90 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน
ครูร้อยละ 100 ออกแบบ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบ Active Learning
ครูร้อยละ 10 มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
ครูร้อยละ 90 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
ครูร้อยละ 100 ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ร้อยละ 90 มีส่วนร่วมร่วมในการจัดการศึกษา
เชิงคุณภาพ
ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ PT LEARN MODEL เพื่อพัฒนานักเรียนของโรงเรียนพัทลุงสู่ความเป็นเลิศ มีศักยภาพรอบด้าน นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนให้ความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนยอดนิยมชั้นนำประจำจังหวัดพัทลุง
6. บทเรียนที่ได้รับ
1. ครูและบุคลากรโรงเรียนพัทลุงทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์(Strategic management) โดยใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนพัทลุงโดยใช้รูปแบบ PT LEARN MODEL
2. การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ PT LEARN MODEL เพื่อพัฒนานักเรียนของโรงเรียนพัทลุงสู่ความเป็นเลิศ ทำให้โรงเรียนมีระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ
3. นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนให้ความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนยอดนิยมชั้นนำประจำจังหวัดพัทลุง
7. บรรณานุกรม
กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน. (2555).รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์สําหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ค.ด. (บริหารการศึกษา).
ทรงศักดิ์ ศรีวงษา. (2550). การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
8. ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
ลงชื่อ
.
(
.)
ตำแหน่ง