ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับ
แนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย กาญกันตา เหมือนเพ็ชร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไป สภาพปัญหา และแนวทาง การพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัค
ติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และเก็บข้อมูลจากการสอบถามประชากรเป้าหมายคือ ครูผู้สอนภาษาไทย จากกลุ่มโรงเรียนขุนโพธิ์ ภูไพร จำนวน 26 คน และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.1) รูปแบบชั่วคราว 2.2) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบ 2.3) พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือประกอบรูปแบบ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 11 ห้อง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปการจัดการเรียนรู้ จำนวน 25 แผน แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 คือ แบบประเมินผลการใช้รูปแบบและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัค ติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวม ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่ส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล โดยได้นำแนวคิดทฤษฎีสนับสนุน คือ ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism) และทฤษฎีการรู้คิด (Metacognition) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหา (Problem determination) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น สนใจเรียน โดยผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัย โดยครูอาจกระตุ้นด้วยภาพ คลิป หรือเกม ให้นักเรียนตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยเอง 2) ขั้นสำรวจและวิจารณ์ (Research) เป็นขั้นที่แสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของนักเรียนจากแหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ โดยครูผู้สอนจัดหาสื่อการสอน กิจกรรมที่น่าสนใจมาให้ผู้เรียนตั้งคำถาม และเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนในประเด็นที่ศึกษา 3) ขั้นตกผลึกความคิด (Synthesis) เป็นขั้นที่กระตุ้นให้เกิดความสงสัยและค้นหาหลักฐาน มีความขัดแย้งทางความคิด เพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบ 4) ขั้นสร้างผลงาน (Production) เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนแสดงผลงาน การสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้นักเรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้นักเรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย วิธีการต่าง ๆ เช่น การอภิปราย เรียงความ และ 5) ขั้นประเมินและสรุป (Summarize and Evaluate) เป็นขั้นสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้นักเรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย โดยครูผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปประเด็นสำคัญประกอบ เช่น การระบุประเด็นปัญหาการ อ้างเหตุผล และองค์ความรู้ทั้งหมด นำมาเรียบเรียงให้ได้สาระสำคัญครบถ้วน และประเมินความรู้ที่ได้รับด้วยใบงาน ใบกิจกรรมหรือแบบทดสอบ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้
4.1 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดคอนสตรัค ติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก