การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกที่ส่งเสริม
ทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือนสิบ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนี
ประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญ
สารทเดือนสิบ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการปฏิบัติก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน
ด้วยแบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือนสิบ และ 4) เพื่อ
สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติ
ชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือนสิบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน
เวลาเรียน 17 ชั่วโมง 2) แบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือน
สิบ จำนวน 6 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน
40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับของ ลิเคิร์ท
จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ(t test for Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญ
สารทเดือนสิบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีประสิทธิภาพ E1/E2= 82.17/84.67
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ
ปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือนสิบเท่ากับ 0.62 แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกที่
ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือนสิบ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน
อาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 62.00
3. ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการปฏิบัติ เปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบ
ฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุดขนมประเพณีบุญสารทเดือนสิบ โดยใช้ t test for
dependent samples นักเรียนมีทักษะกระบวนการปฏิบัติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการปฏิบัติชุด ขนมประเพณีบุญสารท
เดือนสิบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกมีความ
น่าสนใจ รองลงมา คือ แบบฝึกทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น และแบบฝึกทำให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ
และเรียนรู้มากขึ้น ตามลำดับ