สถานศึกษาได้ออกแบบนวัตกรรมที่มีชื่อว่า SOM-BOOL Model มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ให้มีคุณภาพ ส่งผลต่อสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูและบุคลากร นักเรียนให้เกิดคุณภาพตามที่สถานศึกษากำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดการพัฒนาดังนี้
1. การขับเคลื่อนกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
1)วางแผน (PLAN)
1. กำหนดนวัตกรรมเป็นแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
2. จัดเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูเพื่อมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2) เป้าหมาย (OBJECTIVE)
1. สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนที่มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
2. ครูและบุคลากรมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
3. ผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยเทคนิค/ วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมครูด้วยรูปแบบต่างๆ
3) ระบบ (SYSTEM)
1. สถานศึกษามีระบบการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนที่มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning โดยใช้นวัตกรรม SOM-BOOL Model
2. นำระบบการบริหารและการจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม
4) ส่วนร่วม (PARTICIPATION)
1. ประชุมและจัดแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วม เพื่อวางแผนงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
2. วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหา (SWOT Analysis) การมีส่วนร่วมของสถานศึกษา
5) ประเมินผล (EVALUATION)
1. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเยี่ยมนิเทศ ติดตามการขับเคลื่อนจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21
2. กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
3. สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานและนำปัญหา/อุปสรรคจากการดำเนินการมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
2. ปัจจัยความสำเร็จ
S = Service mind แปลว่า บริการด้วยใจ หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตใจในการให้บริการและจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning แก่นักเรียนด้วยจิตใจที่รักงานบริการอย่างเต็มเปี่ยม
O = Opportunity แปลว่า โอกาสทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้โอกาสช่วยเหลือส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ให้เด็กทุกกลุ่มได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน
M = Management แปลว่า บริหารจัดการที่ดี หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการบริหารจัดการงาน 4 ฝ่าย เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
B = Believe แปลว่า สร้างความศรัทธา หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning เพื่อให้เป้าหมายคุณภาพของสถานศึกษาประสบความสำเร็จ
O = O.K. ness แปลว่า มีมนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ให้เป็นไปตามเป้าหมายคุณภาพ
O = Observant แปลว่า เอาใจใส่ผู้เรียน หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งมั่นเอาใจใส่การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning พัฒนานักเรียนตามเป้าหมายคุณภาพที่กำหนดไว้
L = Love แปลว่า รักในสิ่งที่ทำ หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน รักศรัทธาต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายคุณภาพ
3. เป้าหมายคุณภาพ
เป้าหมายหรือผลสำเร็จที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดคุณภาพ 3 ด้าน ดังนี้
คุณภาพผู้เรียน
1) ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนตามสถานศึกษากำหนด
2) มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามสถานศึกษากำหนด
3) มีทักษะในศตวรรษที่ 21(3R8C)
คุณภาพสถานศึกษา
1) สถานศึกษามีการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2) สถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนที่มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
3) สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning อย่างมีคุณภาพ
คุณภาพครูและบุคลากร
1) ครูและบุคลากรมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย
2) ครูและบุคลากรมีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning
3) ครูและบุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning