การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้สู้ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างความรู้แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจกิจกรรมท้ายบทเรียน แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมเป็น 16 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละและค่าที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ที่มีเนื้อหาที่เรียงจากง่ายไปหายาก ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานจากเรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีภาพประกอบ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SPARE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการเรียนการสอน การสรุปสาระความรู้ หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน (SPARE MODEL) 1) ขั้นกระตุ้นเร้าความสนใจในการเรียนรู้ (Stimulation : S) 2) ขั้นการนำเสนอเนื้อหาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Presentation: P) 3) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action Learning : A) 4) ขั้นสะท้อนความรู้ (Reflection of Knowledge: R) และ5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80/85.00 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ซึ่งผลการเปรียบเทียบจากคะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกตอน และผลการเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจกิจกรรมท้ายบทเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนั้น ผลคะแนนเฉลี่ยแบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 8 สัปดาห์แสดงให้เห็นถึงการมีพัฒนาในการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์สูงขึ้นในแต่ละสัปดาห์ที่เรียน
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x̄ = 4.72, S.D.= 0.55) โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านเนื้อหาและรูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเห็นในระดับมากที่สุด (x̄ =4.77, S.D.= 0.47) รองลงมาคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.71, S.D.= 0.57) และด้านบรรยากาศ ในการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67, S.D.= 0.61) ตามลำดับ ที่มีความสนุกสนาน ที่นักเรียนสามารถหาความรู้ได้ต่อเนื่องตลอดเวลาและนักเรียนสามารถพัฒนาวิธีการการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง