บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research: MMR) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 2) เพื่อนำแนวคิดแบบไคเซนมาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 3) เพื่อประเมินผลการนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ระยะที่ 2 การนำแนวคิดแบบไคเซนมาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ระยะที่ 3 การประเมินผลการนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ประชากรประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จำนวน 1,298 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกความคิดเห็น และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน แนวคิดแบบไคเซน การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้วยการสัมภาษณ์ เพื่อตรวจสอบสภาพปัจจุบัน ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ พบว่า
1.1 องค์ประกอบของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 1) คุณภาพของงาน (Quality) 2) ปริมาณงาน (Quantity) 3) เวลาที่ใช้ในงาน (Time) 4) ค่าใช้จ่าย (Cost) นอกจากนั้นประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล (Human Efficiency) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ทุ่มเทให้กับงานในแง่บวก ซึ่งสามารถพิจารณาจากการทํางานของแต่ละบุคคล โดยเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากงานนั้น ๆ เช่น ความพยายามในการทำงานกับผลลัพธ์ที่ได้จากงานนั้น
1.2 ไคเซน เป็นแนวคิดเพื่อการปรับปรุงงาน พัฒนาวิธีการทำงานเดิมให้ดีขึ้นทีละเล็ก ละน้อย โดยลดขั้นตอนการดำเนินงานให้กระชับและไม่ซ้าซ้อน แนวคิดแบบไคเซน จึงเข้ามาเสริมจุดอ่อนที่เกิดขึ้น คือ เป็นการปรับปรุงเพื่อการรักษาสภาพ และปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทีละเล็กทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไปตลอดเวลา ผสมผสานไปกับการปรับปรุงแบบนวัตกรรม ซึ่งแตกต่างจากการปรับปรุงงานด้วยการอาศัยงานวิจัยและพัฒนา (R&D : Research & Development) จะมีลักษณะการคิดแบบใหม่ ๆ การดำเนินการแบบใหม่ เป็นการก้าวกระโดดออกจากรูปแบบเดิมโดยอาศัยนวัตกรรม
ECRS เป็นเทคนิคตามแนวคิดแบบไคเซน ที่นำมาใช้ในการค้นหาแนวทางการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น จากการระดมสมองค้นหาปัญหา โดยการสกัดส่วนที่ไม่จําเป็นออก ด้วยการรวบหรือเรียงลําดับกระบวนการทํางานใหม่ เพื่อลดระยะเวลาการทํางานลง รวมถึงการปรับกระบวนการทํางานให้เรียบง่าย สะดวกต่อการปฏิบัติ เพื่อลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานลง
1.3 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศการแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 ไว้ดังต่อไปนี้
1) กลุ่มอํานวยการ
2) กลุ่มนโยบายและแผน
3) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
5) กลุ่มบริหารงานบุคคล
6) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
7) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
8) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
9) หน่วยตรวจสอบภายใน
10) กลุ่มกฏหมายและคดี
1.4 กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ปฏิบัติงานสารบรรณสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2) ดําเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอํานวยการ
3) ดําเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ
4) จัดระบบบริหารงาน การควบคุมภายใน และพัฒนาองค์กร
5) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจการ ผลงาน และบริการข้อมูลข่าวสาร
6) ประสานการดําเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกเขตพื้นที่การศึกษา
7) ดําเนินการเลือกตั้งและสรรหากรรมการและอนุกรรมการ
8) ประสาน ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพ
9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มิใช่งานของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
1.5 การปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ งานที่ต้องปฏิบัติเป็นลักษณะงานประจำ และงานที่ต้องปฏิบัติตามแผนงานหรือตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ส่วนปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ ได้แก่ ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน
2. การนำแนวคิดแบบไคเซนมาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
การนำแนวคิดแบบไคเซนมาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยนำผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ มาวิเคราะห์หา แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ ด้วยการตรวจสอบตามประเด็นปัญหางานที่ต้องปฏิบัติเป็นลักษณะงานประจำ และงานที่ต้องปฏิบัติตามแผนงานหรือตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา พบว่า สามารถจำแนกการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการบริการ และเมื่อนำเทคนิค ECRS ตามแนวคิดแบบไคเซนมาค้นหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน โดยการตัดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จําเป็น หรือทําให้ล่าช้า ซ้ำซ้อนกันออกไป เพื่อให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานลดลง การจัดลําดับงานใหม่ให้เหมาะสม ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน หรือสร้างอุปกรณ์ช่วยให้ปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น สามารถทำให้เวลาที่ใช้ ในการปฏิบัติ ด้านการปฏิบัติงานงานลดลงได้ร้อยละ 40
3. การประเมินผลการนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
การประเมินผลการนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ หลังจากการนำการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรไปทดลองใช้ โดยสอบถามความคิดเห็นจากบุคลากรกลุ่มอำนวยการ ที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง และผู้บริหารสถานศึกษาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 เกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และความพึงพอใจ พบว่า บุคลากรกลุ่มอำนวยการ และผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นต่อการนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ((X ) ̅= 4.31) เมื่อพิจารณารายด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก ((X ) ̅= 4.28) ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ อยู่ในระดับ มาก ((X ) ̅= 4.10) ด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มากที่สุด ((X ) ̅= 4.55) และพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ผลการประเมินระดับมากที่สุด คือ การนำแนวคิดแบบไคเซนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มอำนวยการ ทำให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจในคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ((X ) ̅= 4.88)
คำสำคัญ : ไคเซน, ประสิทธิภาพ