ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดบึงพระ (เหรียญ จั่น อนุสรณ์)
ปีการศึกษา 2565
ผู้ประเมิน นางสาวภัทรียา ติระศรี
รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบึงพระ (เหรียญ จั่น อนุสรณ์)
คำสำคัญ ส่งเสริมพัฒนา คุณธรรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์
บทคัดย่อ
การประเมินในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดบึงพระ (เหรียญ จั่น อนุสรณ์) ปีการศึกษา 2565 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product)
ประชากรในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนวัดบึงพระ (เหรียญ จั่น อนุสรณ์) ปีการศึกษา 2565 จำนวน 538 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนด้านคุณธรรมของนักเรียน และ 3) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และค่าร้อยละ ซึ่งมีผลการประเมิน ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) ของโครงการ ประเด็นความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นทั้งของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของครูผู้สอน ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด และหลักการและเหตุผลของโครงการมีสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประเด็นความพร้อมของทรัพยากร บุคลากร และเวลา โดยภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นทั้งของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของครูผู้สอน ได้แก่ มีแผนการดำเนินงานโครางการชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีอาคารสถานที่ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ มีแผนงานโครงการชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process)
3.1 กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยภาพรวมครูผู้สอนมีกระบวนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการวางแผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง อยู่นระดับมากที่สุด และการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
3.2 กิจกรรมจิตอาสา โดยภาพรวมครูผู้สอนมีกระบวนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับ มาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการวางแผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการประชุมให้ความรู้ ชี้แจง สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนมีการเผยแพร่และขยายผลการฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 กิจกรรมประกวดมารยาทไทย โดยภาพรวมครูผู้สอนมีกระบวนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการประชุมให้ความรู้ ชี้แจง สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
3.4 กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรภัญญะ โดยภาพรวมครูผู้สอนมีกระบวนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง อยู่ในระดับมากที่สุด และการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต (Product)
4.1 ประเด็นพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นของทั้งนักเรียนและผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของนักเรียน ได้แก่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ มีความเชื่อมั่นในตนเอง อยู่ในระดับมาก และมีความประหยัด อยู่อย่างพอเพียง อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของผู้ปกครอง ได้แก่ ความเชื่อมั่นในตนเอง อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อยู่ในระดับมาก และมีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
4.2 ประเด็นผลกระทบทางบวกที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยภาพรวมความคิดเห็นของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดจากความคิดเห็นของนักเรียน ได้แก่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน อยุ่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริการจัดการเวลา อยู่ในระดับมากที่สุด และสามารถเลือกแนวทางและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากความคิดเห็นของผู้ปกครอง ได้แก่ สามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการไปใช้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ สามารถรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ นำมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมใดๆ อยู่ในระดับมาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
4.3 ประเด็นพฤติกรรมด้านคุณธรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมของนักเรียน ซึ่งแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน กลุ่มคุณธรรมเพื่อการทำงาน และกลุ่มคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 80.23
4.4 ประเด็นพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลาง พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 91.28