บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อประเมินผลในภาพรวมของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 2) เพื่อประเมินบริบทของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 3) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 4) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 5) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ๖) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาคณะครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาคณะครูและบุคลากร จำนวน 102 คน เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-๖ จำนวน 254 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 254 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๕ คน เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 625 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี ๒ ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ ๑ เป็นแบบประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง และฉบับที่ ๒ เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ซึ่งทั้ง ๒ ฉบับมีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า คณะครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) มีความคิดเห็นต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านโดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินผลในภาพรวมของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินบริบทของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. การประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน
๖. ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ของคณะครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน