วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ส่งประกวด นางปรีดา ดิษฐ์สาคร
โรงเรียน โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ประเภทของผลงาน การบริหารจัดการชั้นเรียน
ชื่อผลงาน การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย
โดยใช้ HAPPY Model
๑. ความสำคัญของผลงาน
๑.๑ ความสำคัญและสภาพของปัญหา
โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์เป็นโรงเรียนมุ่งพัฒนานักเรียนให้เข้าถึงการศึกษามากที่สุด มุ่งบริการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนในด้านต่าง ๆ ทั้งปัญหาการใช้ความรุนแรง ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การขาดเรียนบ่อย ๆ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการโครงการเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๕๕๒) ได้กำหนดไว้ว่า ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบ ๕ ประการ ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ยึดถือเป็นภารกิจหลักที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ
ผลการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลืออนักเรียน เปรียบเทียบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๖๓-๒๕๖๔ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด สาเหตุมาจากนักเรียนขาดเรียนบ่อย ไม่สนใจการเรียน นักเรียนมีพฤติกรรมทะเลาะวิวาทใช้ความรุนแรง มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ มีพฤติกรรมติดเกม ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขและแก้ปัญหาโดยใช้ระบบกระบวนการ PLC และด้วยนวัตกรรม การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model ถือเป็นหนึ่งของการปฏิบัติที่มีความเป็นเลิศที่ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า เราทุกคนคือครอบครัวเดียวกัน นวัตกรรมนี้ดำเนินการด้วยกระบวนการ PLC และ PDCA เป็นนวัตกรรมที่อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งจากครอบครัว ครู และบุคลากรในโรงเรียน องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้อง เข้ามาให้การสนับสนุน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
๑.๒ แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา
แนวคิดหลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม คือ การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เน้นการพัฒนามุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับโอกาสเรียนรู้จากการเรียนการสอนด้วยการจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้นวัตกรรมที่ชื่อว่า การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model
๒. จุดประสงค์และเป้าหมาย
๒.๑ จุดประสงค์
๑. เพื่อสร้างนวัตกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เรื่อง การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model
๒. เพื่อให้นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการเยี่ยมบ้าน
๓. เพื่อลดจำนวนนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา
๔. เพื่อให้โรงเรียน ผู้บกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการทำงานร่วมกัน มีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างความปลอดภัย โดยผ่านกระบวนการที่ชัดเจนเป็นขั้นตอน ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
๒.๒ กลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง ร้อยละ ๒๐
เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีความสุข ปลอดภัย มีวินัยเชิงบวก ในระดับดีมาก
โรงเรียนดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพปัญหาของนักเรียนร่วมกันตามบริบทของนักเรียน ตามบทบาทหน้าที่ มีการตรวจสอบและนำผลมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งมีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้
๑. คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการ (ทีมนำ) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะทำงานมีหน้าที่นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
๒. คณะกรรมการฝ่ายสนับสนุน (ทีมประสาน) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะทำงานฝ่ายกิจการนักเรียน หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หัวหน้าฝ่ายแนะแนว หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ และหน่วยงานอื่นทีเกี่ยวข้อง ในการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของนักเรียนให้สำเร็จลุล่วง
๓. คณะกรรมการฝ่ายดำเนินงาน (ทีมทำ) ประกอบด้วย ครูที่ปรึกษา ทำหน้าที่ดูแลติดตามนักเรียนที่ปรึกษา รู้จักนักเรียนแต่ละคนในเชิงลึก ทำให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง ง่ายต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม
ขั้นตอนการดำเนินการ การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ดังนี้
ลำดับขั้นตอน วิธีดำเนินการ
ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan) ศึกษาปัญหา ประชุมผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหา จัดทำแผนงาน โครงการ พัฒนา วางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบครบ
ขั้นที่ 2 การปฏิบัติงาน (Do) ดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนของการวางแผนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดำเนินงานตามขั้นตอน เพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวัง
- รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
- คัดกรองนักเรียน
- การช่วยเหลือและส่งต่อ
- สร้างความตระหนักและส่งเสริมวินัยเชิงบวก
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น
การดำเนินกิจกรรมโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผล (Check) ขั้นตอนการตรวจสอบผล เป็นการติดตาม ตรวจสอบผลปฏิบัติงานตามที่กำหนด สรุปผลเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
ขั้นที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข การเรียนรู้ (Action) การปรับปรุงเป็นการนำผลมาวิเคราะห์ พิจารณาหา สาเหตุข้อบกพร่อง การเรียนรู้และพัฒนา ประเมินความก้าวหน้าและการได้มา ซึ่งความรู้ใหม่ ร่วมกันสร้างนวัตกรรม เพื่อต่อยอดความสำเร็จด้วยวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ลำดับขั้นตอน วิธีดำเนินการ
การจัดกลุ่ม PLC เพื่อสรุปปัญหาและออกแบบการแก้ไขร่วมกัน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ใช้ระบบสารสนเทศและระบบการปรับปรุงเสริมซึ่งกันและกันระหว่างกระบวนการและการปฏิบัติการทั้งระบบเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๓.๓ การใช้ทรัพยากร
มีแผนการปฏิบัติการที่ระบุโครงการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การใช้สื่อเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน เน้นให้นักเรียนเข้าร่วมการทำกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมประชาธิปไตย กิจกรรมกีฬาต้านภัยยาเสพติด มีการดำเนินการตามโครงการอย่างเป็นระบบขั้นตอน คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีความสุข
๔. ผลการดำเนินการผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
ผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัวสุขดี ชีวีมีสุข ชีวิตปลอดภัย โดยใช้ HAPPY Model ไปใช้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น ขาดเรียน หนีเรียน คิดเกม สูบบุหรี่ ใช้ความรุนแรง เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์น้อยลง ละพฤตืกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยตนเอง จากการดำเนินงานพบว่า นักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2565 2566 รายละเอียดตามตารางดังนี้
จากตารางพบว่า ในภาพรวมปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๗๓.๓๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๑๘.๗๓ ซึ่งพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดน้อยลงตามลำดับ และจากการศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพบว่า นักเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี ตลอดจนการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ส่งผลให้นักเรียนมีความสุข มีความปลอดภัยมากขึ้น นักเรียนกล้าพูด กล้าปรึกษาปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น