ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้
แบบ i-KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางเพชรรัตน์ อุ่นแก้ว
ตำแหน่ง ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทาง และความต้องการในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทาง และความต้องการ 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้นักเครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบ และบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.83 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.88 2.2) แบบวัดทักษะกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 2.3) แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้าง
ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน
15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ และยังขาดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในด้านการแก้ปัญหา การสื่อความหมาย การเชื่อมโยง การให้เหตุผลและการพิสูจน์ และการคิดสร้างสรรค์ หลังจากศึกษาเชิงลึกแล้วพบว่า เนื้อหาค่อนข้างยาก กิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่จูงใจ และส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรู้
ทักษะ และเจตคติเท่าที่ควรโดยเฉพาะทักษะการคิดขั้นสูง ควรมีการสร้างรูปแบบ วิธีการเรียนรู้แนวใหม่ ที่มีสื่อ กิจกรรมการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ จูงใจ และให้ประสบการณ์เชิงปฏิบัติที่หลากหลายยิ่งขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ
i-KWL Plus เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล และมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) i: inspiration สร้างแรงบันดาลใจ 2) K: Know ไขความรู้ 3) W: Want to Know มุ่งสู่เป้าหมาย 4) L: Learned ท้าทายความคิด และ 5) Plus: Knowledge Distribution พิชิตปัญหาและนำพาสู่สังคม มีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.62)
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus+ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51,
S.D. = 0.48)
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL+ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบ
ของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.56)