บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิด
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มทดลองใช้ (Try out) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 และกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 10 แผน ใช้เวลาสอน จำนวน 40 ชั่วโมง และเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t - test Dependent)
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตามลำดับ ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แยกได้ ดังนี้
1.1 ความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์ต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 ต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ อยู่ในระดับมาก
1.3 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ อยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา (Issue the problem: I) ขั้นที่ 2 เข้าใจปัญหา (Imagin
the problem: I) ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูล (Data Compile: D) ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ข้อมูล (Data Synthesis: D) ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าข้อมูล (Data Summary: D) ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน (Show and evaluation the work: S) 4) การวัดผลและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ ให้ประสบผลสำเร็จ โดยรูปแบบมีคุณภาพเหมาะสมตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.36/80.65 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6913
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.46/81.11 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7074 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัด
การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยดำเนินการ
โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน ซักถาม แสดงความคิดเห็นและร่วมกันตอบคำถามขณะสอนโดยมีการสอบถามนักเรียนขณะทำกิจกรรม และให้เสนอแนะโดยใช้คำถาม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ปรับปรุงเนื้อหามีความยากง่าย พอเหมาะ น่าสนใจเหมาะสมกับเวลาและเป็นประโยชน์กับนักเรียน เนื่องจากเนื้อหาในบทเรียนเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้าง มีความยาก จึงปรับเนื้อหาให้มีความเหมาะสมเข้าใจได้ง่าย บางกิจกรรมใช้เวลาในการลงมือปฏิบัตินาน จึงปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลาในการทำกิจกรรมและหาแหล่งสืบค้น เพื่อเป็นแนวทางในการหาคำตอบ ครูผู้สอนทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษาแนะนำที่เป็นประโยชน์ ให้การชี้แนะ เพื่อให้นักเรียนพร้อมที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองทันทีเมื่อมีปัญหาไม่เข้าใจเรื่องที่เรียน เนื่องจากนักเรียนอาจมีแหล่งข้อมูลในการสืบค้นไม่ค่อยตรงกับเนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมลดลง