หัวข้องานศึกษา รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางสุจิตรา จันทาคีรี ตําแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์80/80 2)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)ของชุดกิจกรรมการเรียนรโู้ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3)เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4)เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จํานวน 33 คน ที่กําลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดย
ใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
จํานวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้(คู่มือใช้ชุดกิจกรรมการเรียนร)ู้ ที่ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 จํานวน 7 แผน ซึ่งมผีลการประเมินความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย
( X 4.63,S.D.0.51) 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จํานวน 30 ข้อซึ่งมีค่าความยากง่ายเหมาะสมตั้งแต่ 0.43 - 0.70 มีค่าอํานาจจําแนกเหมาะสมตั้งแต่ 0.47 0.73 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 4) แบบประเมินความพงึพอใจของนกัเรยีนที่มีต่อการ
จัดการเรยีนรู้โดยใชชุ้ดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ รายวิชา
วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ซึ่งเป็นมาตราสว่ นประมาณคา่ (Rating Scale) 5 ระดับ
จํานวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D. ) และทดสอบคะแนนก่อนเรียนหลังเรียนโดยใช้สถิติการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ
( Dependent Sample t-test )
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 84.72/ 84.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กําหนดไว้ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผล ( E.I. ) ของชุดกิจกรรมการเรียนรโู้ดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง แรงและ
การเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ .7733 แสดงว่า
ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.33
3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจโดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( X =4.58, S.D.=.51 )