ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม
จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นางสาวอัญชลี เต็งตระกูล
โรงเรียนหนองขามพิทยาคม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาองค์ประกอบ ของการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา 3) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา 4) ตรวจสอบการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองในโรงเรียนหนองขามพิทยาคม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. โรงเรียนหนองขามพิทยาคม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา มีสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.45, S.D. = 0.89) รองลงมาด้านผู้บริหาร ( = 4.25, S.D. = 1.06) ด้านการเรียนรู้ ( = 4.12, S.D. = 1.12) ด้านเทคโนโลยี ( = 4.07, S.D. = 1.20) และด้านการจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ย ( = 3.96, S.D. = 1.28)
2. องค์การประกอบหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) โลกทัศน์ (World View: W) 2) การร่วมเสริมสร้างพลังบวก (Appreciative Inquiry: A) 3) การบรรลุผลสำเร็จ (Achivement motivation: A) 4) การสร้างให้ชุมชนมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับสถานศึกษา (Shared vision: S) 5) การรวมพลังประสานความร่วมมือ (Synergy: S) 6 การสร้างสถานศึกษาให้เป็นแหล่งความรู้ ศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน (School Based Activities: S) W2A3S MODEL
3. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนหนองขามพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา มีองค์ประกอบหลัก 7 ส่วน คือ ชื่อรูปแบบ ความเป็นมาของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบหลักของรูปแบบ แนวทางการประเมินรูปแบบ และเงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยการสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก