การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6) แบบประเมินรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
1.1 สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 3.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.66
1.2 สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 6 อยู่ระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 3.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60
1.3 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่าน ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของคณะกรรมการบริหารวิชาการ พบว่า ครูมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เน้นการฝึกอ่านจากกระบวนการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ โดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ของนักเรียน เพื่อค้นพบองค์ความรู้ที่มีคุณภาพ นำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงต้องการ สร้างและพัฒนาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรักการอ่าน ฝึกการอ่านโดยผ่านการแสวงหาความรู้ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้าใจจากการการอ่าน และฝึกให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการส่งผลให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.4 หลักการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากการฝึกอ่านตามกระบวนการอ่าน การตีความ ความวิเคราะห์ความ การเชื่อมโยงเปรียบเทียบ โดยเน้นการอ่านแล้วเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องที่อ่านและการนำความรู้หรือทักษะในการอ่านจากห้องเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ฝึกให้นักเรียนได้อ่านเรื่องราวต่างๆ อ่านวรรณคดีไทย โดยในขั้นตอนการฝึกอ่านนี้ต้องสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการพัฒนาคือ การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในประเด็นดังนี้ คือ 1. กำหนดความสำคัญของเรื่อง 2. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่อง 3. สรุปหลักการของเรื่อง
1.5 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการสอน มีองค์ประกอบที่เหมาะสมและสอดคล้อง นำมาพัฒนารูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สำคัญคือ แนวคิดเกี่ยวกับการการพัฒนารูปแบบการสอน แนวคิดและทฤษฎีการสอนอ่านแบบนําทาง DRA การสอนอ่านแบบ KWL Plus การสอนอ่านแบบปฏิบัติการ การอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R และแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ที่สำคัญดังนี้ 1.แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2.วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการเรียนรู้ 4. ระบบสังคม 5. หลักการวัดประเมินผล 6. สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวก และจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการสอนอ่าน ได้รูปแบบการสอนอ่าน AEDASL model ประกอบด้วย 1. ขั้นกระตุ้นความสำคัญ (Attention) 2 ขั้นกำหนดความสำคัญของเรื่อง (Essence) 3 ขั้นอธิบายรายละเอียด (Details) 4) ขั้นการวิเคราะห์ความ (Analysis) ขั้นการสรุปความ (Summarize) 6 ขั้นการเรียนรู้เชื่อมโยง (learn to link)
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
2.1 รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ รูปแบบการสอนอ่าน AEDASL Model ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.33
2.2 ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.17
2.3 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทดลองใช้กับนักเรียนแบบเดี่ยว (1:1) จำนวน 3 คน ซึ่งผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 77.78/76.67 แบบกลุ่ม (1:10) จำนวน 9 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 80.93/80.00 แบบภาคสนาม 1:100 จำนวน 30 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับมีค่าเท่ากับ 81.28/80.56
3. ผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 82.17/81.82
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้รับจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการรู้ตามรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.80 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) 4.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.37 ซึ่งผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ โดยรวม ผ่าน