ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
VANIDA5E Model (การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง จำนวนจริง ช

ข้อมูลบริบทของสถานศึกษา

โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - class standard school) ที่มีหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล รวมทั้งมีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพ คือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะ (Learner Profile) เทียบเคียงมาตรฐานสากล จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่ต้องการเพิ่มศักยภาพของตนเองจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีการจัดการเรียนการสอน

ที่เน้นรายวิชาแยกแผนการเรียนตามความถนัดของนักเรียน คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1) เน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เปิดสอน 3 รูปแบบ ได้แก่ หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ คือ ห้องเรียนอัจฉริยะ (SMART Class) หลักสูตรห้องเรียน EIS และหลักสูตรวิทยาศาสตร์คณิศาสตร์ปกติ 2) เน้นภาษาอังกฤษ–ภาษาจีน

3) เน้นภาษาอังกฤษ – ภาษาญี่ปุ่น และ 4) เน้นกีฬา มีพันธกิจ ดังนี้

1. พัฒนาระบบบริหารการจัดการการศึกษาด้วยระบบคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย

3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นผู้นำ มีความรู้ ความสามารถ และใช้การวิจัย สื่อนวัตกรรมในการพัฒนาผู้เรียน

4. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยน้อมนำหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

5. พัฒนาผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3R ,3C {(R)Reading (อ่านออก), (W)Riting

(เขียนได้), และ (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) ,Collaboration Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ), Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)}

6. ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง องค์กรชุมชน เครือข่าย ในการพัฒนา

คุณภาพการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียน

7. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

ข้อมูลบริบทของผู้เรียน (กลุ่มเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก)

กลุ่มเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1, 4/5 และ 4/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 120 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความพร้อมในการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีทักษะด้าน ICT และนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจาก Internet และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มีความพร้อมในการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียน

รายละเอียดการนำเสนอผลการดำเนินงาน

1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

1.1 เหตุผลที่เกิดจากแรงบันดาลใจ ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการที่จัดทำผลงาน

หนึ่งในพันธกิจของโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม คือการพัฒนาผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ

ที่ 21 ประกอบด้วย 3R ,3C {(R)Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) ,Collaboration Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ), Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)} สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้จำเป็นต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ในการที่จะพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งในวิชาหลักและมีทักษะในการเรียนรู้ (Learning skills) ภายใต้วิธีคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ให้นักเรียน เรียนรู้แบบให้รู้จริง (Mastery Learning) เน้นลงมือปฏิบัติ (Action Learning) และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ (Learning by doing) ในสถานการณ์ ต่าง ๆ โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) หรือเป็นครูฝึก (Coach) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) เพราะเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีบทบาทในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองอย่างกระปรี้กระเปร่า โดยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับผ่านทาง การอ่าน พูด ฟัง คิดเขียน อภิปราย แก้ปัญหาและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

เน้นการทางานเป็นกลุ่ม การร่วมมือระหว่างผู้เรียน ผู้เรียนรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ฝึกความมีวินัยให้กับตนเองในการเสาะแสวงหาความรู้ โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะประสบการณ์และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

คณิตศาสตร์เป็นอีกสาระหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรมที่เกี่ยวกับความคิดรวบยอด ที่ได้มาจากการสรุปที่เหมือน ๆ กัน ซึ่งได้จากประสบการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นวิชาที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผล มีโครงสร้างหรือข้อตกลงชัดเจน ดังนั้น การออกแบบจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในด้านความรู้ ครูจะต้องจัดเนื้อหาให้ต่อเนื่อง เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน ใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ จนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีเทคนิคในการสอนที่ให้นักเรียนได้มีร่วมอย่างกระตือรือร้น จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งในด้านกว้างและด้านลึก สามารถมองเห็นความสมเหตุสมผลของสิ่งที่กำลังศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ได้ แต่จากการศึกษาโดยการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ พบว่าปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พบมาก คือ นักเรียนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่ทำความเข้าใจยาก ทำให้นักเรียนเบื่อ ไม่อยากเรียน เกิดความวิตกกังวลในการเรียน เช่น การขาดความมั่นใจ ไม่ชอบคิดคำนวณ กลัวความล้มเหลว กลัวการถูกลงโทษเมื่อทำผิด หรือกลัวความอับอาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ นอกจากนี้รูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่หลากหลาย ไม่แปลกใหม่ของครูส่วนใหญ่ เช่น การสอนแบบบรรยายตลอด ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อเทียบกับรายวิชาอื่น ๆ วิธีการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงขึ้น หรือการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับตัวครู ซึ่งต้องมีการเตรียมการสอน วางแผนที่ดี จัดกิจกรรมอย่างเหมาะสม ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คือ การนำเอาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนเข้ามาช่วย เพราะสื่อการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือ หรือช่องทางที่จะทำให้การสอนของครูเข้าถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้ สื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่จะช่วยนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องความสามารถในการเรียน คือ แบบฝึกทักษะ เพราะเป็นสื่อที่ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ และมีทักษะเพิ่มเติมขึ้น นอกจากนี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูก็มีส่วนสำคัญจะทำให้ผู้เรียนสามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเองได้ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนการสอนมุ่งให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยได้กำหนดกระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ที่สำคัญไว้ 5 ขั้นตอน (5E) คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 3) ขั้นอธิบายและ ลงข้อสรุป (Explanation) 4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 5) ขั้นประเมิน (Evaluation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปจึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติ

จากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 พบว่า กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่ประสบปัญหาไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ นักเรียนจำนวนมากขาดความรู้ ความเข้าใจด้านเนื้อหา และทักษะกระบวนการคิด ทำให้นักเรียนไม่ข้าใจเนื้อหาที่เรียน และไม่ทบทวนเนื้อหาสาระที่เรียนผ่านไปแล้ว ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งพบปัญหามากที่สุดในบทเรียนคือ เรื่อง จำนวนจริง ซึ่งในเนื้อหาพบว่านักเรียนไม่เข้าใจโครงสร้างของระบบจำนวนจริง ไม่สามารถจำแนกได้ว่า จำนวนที่พบเห็นในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนชนิดใด ส่งผลให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์เกิดความคลาดเคลื่อน เช่น การหาคำตอบจากการแก้สมการทั้งในรูปเศษส่วนและจำนวนเต็มลบ เกิดความสับสนในเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ อีกทั้งไม่สามารถหาคำตอบของสมการและอสมการรูปค่าสัมบูรณ์ได้ โดยจะเห็นได้จากแบบบันทึกคุณภาพผู้เรียน (ปพ.5) ซึ่งพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่า 2.5 คิดเป็นร้อยละ 41.49 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ (วนิดา เขจรรักษ์. 2565 : 3) ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นด้วยการจัดการเรียนสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะนักเรียนจะได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง สร้างความคิดได้ด้วยตนเอง หาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อค้นคว้าหลักทั่วไปอันเป็นแนวทางไปสู่ความคิดรวบยอด และในที่สุดก็จะเกิดทักษะความชำนาญเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานเพื่อเตรียมตัวผู้เรียนให้พร้อมที่จะศึกษาในระดับสูงต่อไป กอปรกับเทคนิควิธีการที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาคณิตศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ คือกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่เป็นกระบวนการมุ่งให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทั้งทักษะการเรียนรู้และเนื้อหาคณิตศาสตร์

1.2 แนวคิดหลักการสำคัญ

การเรียนเชิงรุกหรือการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการมีปฏิบัติสัมพันธ์และเชื่อมโยงจากความรู้เดิมด้วยตนเองจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยทฤษฎีการสร้างความรู้นี้ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ว่า

1.2.1 การเรียนรู้ คือการสร้างความหมายที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างขึ้นอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ผู้เรียนจะตั้งสมมติฐานตรวจสอบและอาจเปลี่ยนสมมติฐานในขณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับกับบุคคลอื่นก็ได้และผลการเรียนรู้ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียนด้วย

1.2.2 ความรู้ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายนอกตัวบุคคลซึ่งจะสามารถถ่ายโอนไปยังผู้เรียนได้ แต่ความรู้ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน ซึ่ง กระบวนการสร้างความหมายของผู้เรียน เป็นการสร้างรายละเอียด และทดสอบโครงสร้างทางปัญญา จนกระทั่งพบ สิ่งที่พอใจ โดยมีประสบการณ์ที่ขัดแย้งเป็นสิ่งรบกวนโครงสร้างเหล่านี้ ทำให้บุคคลต้องปรับโครงสร้าง เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่มีความหมายตลอดเวลา และความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความจริงภายนอก หรือสะท้อนไปสู่โลกที่เป็นจริงเสมอไป แต่ผู้เรียนจะสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของตนเอง โดยถือ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นนี้เป็นแบบจำลองที่สะท้อนถึงความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เรียน ความไม่ สอดคล้องกันระหว่างความเป็นจริงกับโครงสร้างทางปัญญาที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนี้อาจเกิดจากข้อจำกัด ของความสามารถในการสร้างความหมายของสิ่งแวดล้อมและข้อจำกัดในประสบการณ์ของผู้เรียนเอง

1.2.3 การเรียนการสอน ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างตื่นตัว ที่จะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่าง ๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ วัสดุอุปกรณ์ สิ่งของต่าง ๆ ผู้เรียนจัดกระทำ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทดลอง ลองผิดลองถูกกับสิ่งนั้น ๆ จนเกิด เป็นความรู้ความเข้าใจขึ้น ดังนั้น ความเข้าใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการคิด

วิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีสอนอีกแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพราะการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นวิธีการสอนซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก มักมีสมาชิกกลุ่มละ 3-5 คน ลักษณะเด่นของการเรียนแบบนี้คือ เน้นทักษะการคิด การร่วมมือร่วมแรงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มทุกคน สมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาและเนื้อหาที่ร่วมกันทำ เพราะถ้าครูเรียกให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งตอบหรืออธิบายกระบวนการแก้ปัญหา สมาชิกผู้นั้นต้องอธิบายได้ การเรียนแบบนี้สมาชิกทุกคนจะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ที่ครูสอนและช่วยสอนเพื่อน (Slavin. 1995) อีกทั้ง การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นเทคนิคที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านสติปัญญาและด้านสังคม ทั้งนี้มนุษย์เป็นสัตว์สังคมย่อมมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างตนเองและผู้อื่น ซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยใช้เทคนิคร่วมมือกันเรียนรู้ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญาให้เกิดการเรียนรู้จนบรรลุถึงขีดความสามารถสูงสุดได้ โดยมีเพื่อในวัยเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน เป็นผู้คอยแนะนำหรือช่วยเหลือ เนื่องจากผู้เรียนที่อยู่ในวัยเดียวกันย่อมจะมีการใช้ภาษาในการสื่อสารที่เข้าใจง่ายกว่าครูผู้สอน

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เป็นกระบวนการสอนอีกกระบวนการหนึ่งที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน สอดคล้องกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของรายวิชาและสอดคล้องกับตัวชี้วัด เป็นการจัดการเรียนรู้มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยผู้สอนมีบทบาทหน้าที่จัดบรรยากาศการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระ

การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ

ท้าท้ายให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจในแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์

ที่สำคัญ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามกำหนดประเด็นที่จะศึกษา

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถาม

ที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่างๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนามการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้ มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ

4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

หรือแนวคิดที่ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5. ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ ทั้งนี้กิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำการสำรวจตรวจสอบ จะต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและนักเรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ โดยกิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบหรือแสวงหาความรู้ใหม่

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดําเนินงาน

จุดประสงค์

1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

2. เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้

อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกห้องเรียน

3. เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักเรียนในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย และ

เข้าร่วมในการแก้ปัญหา

เป้าหมายเชิงปริมาณ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้น ร้อยละ 3

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้

อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกห้องเรียน

2. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย และเข้าร่วมในการแก้ปัญหา

3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดําเนินงาน

ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง จำนวนจริง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อาศัยกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (PDCA) ภายใต้แนวคิดและทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เป็นสื่อประกอบ ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีวิธีการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้

การวางแผน

(Plan : P) Vision

ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1. ศึกษาหลักสูตรตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง โครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มเติมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2. ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา สาระสำคัญ ตัวชี้วัด และเวลาเรียน เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

4. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 แผน มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นกิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเรียนเนื้อหาต่อไป จัดกิจกรรมในลักษณะ การทักทาย ซักถาม พูดคุย เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้นักเรียนดำเนินการ ค้นหา และศึกษาเนื้อหา ความรู้จากบัตรความรู้ในแต่ละเรื่อง

ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นการให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและค้นหามาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายรายกลุ่มย่อย พร้อมทั้งนำเสนอผลการศึกษาหรืออภิปรายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อภิปรายรายบุคคล อภิปรายรายกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาเพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้

ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน ตรวจคำตอบแบบฝึกทักษะต่าง ๆ ตลอดจนทดสอบความรู้หลังเรียน

5. ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

6. หาประสิทธิภาพโดยการทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

7. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง 1. ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในหลักสูตรคณิศาสตร์เพิ่มเติม

2. ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะ

3. กำหนดเนื้อหาในการสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละเล่ม

4. สร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง

5. ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

6. หาประสิทธิภาพโดยการทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

7. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง

การปฏิบัติตามแผน

(Do : D) Instructional strategies

ออกแบบกลยุทธ์และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบไว้ตามแผนฯ

ผังมโนทัศน์ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

การตรวจสอบ

(Check : C) Discussion

ร่วมอภิปรายผลและสรุปผลกับผู้เชี่ยวชาญ

ตรวจสอบผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยการอภิปรายร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งฝ่ายบริหาร ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ และนักเรียน โดยประเด็นที่ร่วมตรวจสอบและอภิปราย คือ

1. สภาพปัญหาการการจัดการเรียนการสอนตามแผน

2. ความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ VANIDA5E Model

3. ความเหมาะสมของวิธีการการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ VANIDA5E Model

การปรับปรุงการดำเนินงาน

(Action : A) A

ติดตามผลด้วยการนิเทศชั้นเรียน

นำผลลัพธ์จาการนิเทศชั้นเรียนมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ VANIDA5E Model

4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์

4.1.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงขึ้น

4.1.2 นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้

อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกห้องเรียน

4.1.3 นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย และเข้าร่วม

ในการแก้ปัญหา

4.2 ประโยชน์ที่ได้รับ

4.2.1 นักเรียนได้ฝึกความรับผิดชอบในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย และเข้าร่วม

ในการแก้ปัญหา

4.2.2 นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้

อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกห้องเรียน

4.2.3 ได้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้แบบฝึกทักษะ

คณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคุณภาพตรงตามหลักสูตร ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกิจกรรมและสื่อที่น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

4.2.4 เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและผู้สนใจที่ต้องการพัฒนา

หรือแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

5. ปัจจัยความสำเร็จ

5.1 หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ได้ส่งเสริมให้ความรู้ เกี่ยวกับการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยการมอบหมายให้ศึกษานิเทศก์ประจำสหวิทยาเขตสมเด็จติดตาม ตรวจเยี่ยม เพื่อให้ข้อเสนอแนะและให้ขวัญและกำลังใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

5.2 ผู้อำนวยการโรงเรียนให้ความสำคัญ ส่งเสริมให้กำลังใจ และให้การสนับสนุนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในทุกกลุ่มสาระ ตลอดจนมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

5.3 ครูมีส่วนร่วม มุ่งมั่นตั้งใจจริงและทุ่มเท ทั้งแรงกายแรงใจเพื่อพัฒนานักเรียน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เอาใจใส่และให้คำแนะนำที่ดีแก่นักเรียน

5.4 นักเรียนให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมในร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่

5.5 ผู้สอนงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา ปรับปรุงระบบ

การทำงานอย่างต่อเนื่อง

6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)

6.1 บทเรียนที่ได้รับ

ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้า

และสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และรู้จักใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือตลอดจน ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันจากการทำงานเป็นกลุ่ม มีการอภิปราย การสื่อสารระหว่างกัน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สามารถเขียนสรุปองค์ความรู้จากการเรียนได้ถูกต้อง

6.2 ปรับปรุงคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป

การใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

เรื่อง จำนวนจริง ครูผู้สอนควรอบรมความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์ให้กับนักเรียนก่อน

เนื่องจากภายในแบบฝึกทักษะมีเฉลย หากนักเรียนไม่มีความซื่อสัตย์ การเรียนการสอนจะไม่มีประสิทธิภาพ

6.3 ข้อควรพึงระวัง

6.3.1 วิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ

หาความรู้ (5E) เรื่อง จำนวนจริง เป็นวิธีสอนที่ใหม่สำหรับนักเรียน ในการสอนครั้งแรกต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจในวิธีการเรียนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

6.3.2 ก่อนนำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

(5E) เรื่อง จำนวนจริง ไปใช้สอนนักเรียน ครูผู้สอนต้องศึกษาคู่มือครูให้เข้าใจ และสำรวจรายละเอียด

และขั้นตอนการสอนต่าง ๆ ในแบบฝึกทักษะและแผนการจัดการเรียนรู้ว่าครบถ้วน สมบูรณ์หรือไม่เพื่อการจัด

กิจกรรมการเรียนการสอนจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โพสต์โดย วาดา เขจรรักษ์ : [20 ส.ค. 2566 เวลา 03:58 น.]
อ่าน [1388] ไอพี : 49.48.110.200
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 3,026 ครั้ง
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
ประโยชน์ของขมิ้นชัน

เปิดอ่าน 16,658 ครั้ง
ไดร์ผมตรงอย่างมืออาชีพ
ไดร์ผมตรงอย่างมืออาชีพ

เปิดอ่าน 42,591 ครั้ง
14 วิธีการประยุกต์ใช้ลวดเสียบกระดาษ ที่คุณคาดไม่ถึง
14 วิธีการประยุกต์ใช้ลวดเสียบกระดาษ ที่คุณคาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 16,036 ครั้ง
เมนู "ปลาทู" ใกล้ตัวอุดมโอเมก้า-3
เมนู "ปลาทู" ใกล้ตัวอุดมโอเมก้า-3

เปิดอ่าน 1,082 ครั้ง
มาตรฐาน Image Metadata
มาตรฐาน Image Metadata

เปิดอ่าน 22,989 ครั้ง
วิธีระงับความโกรธ
วิธีระงับความโกรธ

เปิดอ่าน 19,268 ครั้ง
เรื่องจริงของสังคมโลก "สังคมก้มหน้า" ดูกันเลยว่าจริงไหม?
เรื่องจริงของสังคมโลก "สังคมก้มหน้า" ดูกันเลยว่าจริงไหม?

เปิดอ่าน 47,489 ครั้ง
คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล
คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล

เปิดอ่าน 17,635 ครั้ง
วิธีดูแลรักษาโซฟาหนัง
วิธีดูแลรักษาโซฟาหนัง

เปิดอ่าน 12,496 ครั้ง
ว่านชักมดลูก
ว่านชักมดลูก

เปิดอ่าน 12,348 ครั้ง
9 หนทางสู่การลดน้ำหนักแบบทันใจ
9 หนทางสู่การลดน้ำหนักแบบทันใจ

เปิดอ่าน 18,396 ครั้ง
กำเนิดหมากฝรั่ง
กำเนิดหมากฝรั่ง

เปิดอ่าน 11,399 ครั้ง
ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง
ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

เปิดอ่าน 11,237 ครั้ง
ทางรอดประเทศไทย : เปลี่ยนระบบการเรียนรู้
ทางรอดประเทศไทย : เปลี่ยนระบบการเรียนรู้

เปิดอ่าน 22,061 ครั้ง
เกณฑ์มาตรฐานการเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์
เกณฑ์มาตรฐานการเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์

เปิดอ่าน 20,320 ครั้ง
เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา ปี 2555 (ว22-ว23)
เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา ปี 2555 (ว22-ว23)
เปิดอ่าน 51,830 ครั้ง
หลักเกณฑ์สอบ ผอ.และรอง ผอ.
หลักเกณฑ์สอบ ผอ.และรอง ผอ.
เปิดอ่าน 10,044 ครั้ง
งานหนักมาก เหนื่อย ทำอย่างไรดี
งานหนักมาก เหนื่อย ทำอย่างไรดี
เปิดอ่าน 41,115 ครั้ง
ประโยชน์ 5 ข้อของการรีไฟแนนซ์บ้าน
ประโยชน์ 5 ข้อของการรีไฟแนนซ์บ้าน
เปิดอ่าน 22,752 ครั้ง
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ