ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้วิจัย นางสาวปรัชญารัตน์ เพ็ชรกำแหง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีวิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 4. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 4.1 เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนเชิงรุกของครูผู้รับการพัฒนาก่อนและหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 19 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมิน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัยได้ดังนี้
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สรุปผลได้ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครู โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีองค์ประกอบของรูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบ (Principle of Model) 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (Objective of Model) 3. ขั้นตอนการชี้แนะ (Process of Coaching) ประกอบด้วย 3.1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการชี้แนะ (Pre-Coaching) 3.2) ขั้นการชี้แนะ (Coaching) 3.3) ขั้นการทบทวน (Review) 3.4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) 4. ปัจจัยสนับสนุน (Support System)
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบและเครื่องมือประกอบ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายด้านทุกด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.00 ถึง 4.60 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อรวมทุกรายการโดยรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประกอบการพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า มีความสอดคล้องทุกประเด็น โดยมีค่าความสอดคล้อง IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สามารถนำไปใช้ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบก่อนนำไปใช้จริงดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูกลุ่มทดลองทั้ง 6 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัด การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทุกคน โดยภาพรวมก่อนการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อยู่ระดับน้อย และหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก
3.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก นักเรียนของครูกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
ผลจากการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการชี้แนะสรุปผลได้ดังนี้
1) ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการชี้แนะ 19 คน มีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ ทักษะการวางแผน ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ ทักษะการสะท้อนผล และทักษะการเรียนรู้เป็นทีม PLC สูงขึ้นทุกคน 2) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 19 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลจากการสังเกตการสอนของครูผู้รับการชี้แนะมีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงขึ้น และผลการตรวจสอบรายการปฏิบัติทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้ง 4 ทักษะ ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากทุกคน 4) ผลการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) พบว่า สิ่งที่ครูผู้รับการชี้แนะได้รับจากรูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ การสะท้อนผลก่อนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดการเรียนรู้ และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาภายหลังการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และจากการเรียนรู้เป็นทีม : PLC นำมาปรับปรุงการเขียนแผนทุกครั้ง ทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนได้ 5) ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้เป็นทีม: PLC พบว่า การใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สามารถส่งเสริมให้ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ ทักษะในการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และทักษะในการทำงานเป็นทีม : PLC โดยมีผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
4.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 19 คน พบว่า หลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครูผู้รับการชี้แนะมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทุกคน
4.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 19 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทุกคน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนของครูผู้รับการชี้แนะ พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทุกคน