การประเมินในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการะบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 75 คน 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้แทนครู และผู้อำนวยการสถานศึกษา) จำนวน 15 คน และ4) ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 75 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อการประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น .893 2) แบบสอบถามเพื่อการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .923 3) แบบสอบถามเพื่อการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .944 4) แบบสอบถามเพื่อการประเมินด้านการประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .980 และ 5) แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสำหรับนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .967 และ 6) แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .960 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ภาพรวมของโครงการ มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50) ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 34 คน โดยภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.85, S.D.= .21) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสอดคล้องกับปัญหาและความจำเป็น มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .20) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและนักเรียนใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.94, S.D.= .24) และนักเรียนมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีและนักเรียนดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตไม่ถูกต้องตามหลักอนามัย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด( x̄= 4.79, S.D.= .41) ความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.87, S.D.= .28) หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและโครงการมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.94, S.D.= .24) และหลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการและหลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของ สพป. เพชรบูรณ์ เขต 3 มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .41) ความสอดคล้องของโครงการกับวิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.81, S.D.= .25) วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.85, S.D.= .36) และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนนำไปปฏิบัติได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.76, S.D.= .43) ความสอดคล้องของโครงการกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.85, S.D.= .20) วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.88, S.D.= .33) และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.84, S.D.= .20) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .22) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50)
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 19 คน โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .23) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพร้อมของบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.87, S.D.= .23) จำนวนบุคลากรในการจัดกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความพร้อมและโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.95, S.D.= .23) และผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) ความพอเพียงของงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.88, S.D.= .23) การจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.95, S.D.= .23) และมีแหล่งเงินทุนอื่น ๆ สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) ความพอเพียงของทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.82, S.D.= .35) มีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพียงพอและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งานตลอดเวลา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.84, S.D.= .37) และวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและสถานที่ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม พอเพียง มีความพร้อมสำหรับการจัดกิจกรรมเสมอ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.87, S.D.= .20) รูปแบบการจัดกิจกรรมมีความหลากหลายและน่าสนใจและมีเครือข่ายทางการศึกษาในโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.95, S.D.= .23) และการบริหารจัดการเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50)
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 19 คน โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .24) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กระบวนการวางแผนกำหนดงาน/ปฏิทินปฏิบัติงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.87, S.D.= .28) มีการศึกษาและสำรวจข้อมูลอย่างพร้อมเพียง เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.95, S.D.= .23) และมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบดำเนินงานโครงการระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) การดำเนินกิจกรรมตามแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.85, S.D.= .27) แผนปฏิบัติการมีการกำหนดกิจกรรมไว้ครอบคลุมทุกด้าน, มีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการศึกษาข้อมูลเป็นรายบุคคลและการเยี่ยมบ้านนักเรียนครบทุกคนและมีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน เช่น การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กิจกรรมโฮมรูม มีการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน กิจกรรมวิชาการกิจกรรมธรรมะฝึกสมาธิ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.95, S.D.= .23) และมีแผนดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชัดเจน, บุคลากรในโรงเรียนปฏิบัติการจัดกิจกรรมตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน, มีการคัดกรองนักเรียนเพื่อแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา และกลุ่มพิเศษโดยวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกตพฤติกรรม การใช้แบบวัด SDQ ฯลฯ และมีการป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา และกลุ่มพิเศษ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) การกำกับ นิเทศ ติดตามประเมินผลกิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.84, S.D.= .23) มีแผนการกำกับ ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขอย่างสม่ำเสมอและ การประเมินผลการดำเนินงานโครงการเป็นระยะตามแผนที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.89, S.D.= .32) และมีปฏิทินกำกับนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานอย่างชัดเจนและมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.87, S.D.= .20) ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของโครงการ และมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.95, S.D.= .23) และนำผลการประเมินโครงการมาจัดทำสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50)
4. ผลการประเมินประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จากความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 109 คน โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.80, S.D.= .34) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพกายสุขภาพจิตนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.81, S.D.= .33) นักเรียนมีกำลังใจ มีความมุ่งมั่นในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .35) และนักเรียนมีพัฒนาการ ด้านน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.74, S.D.= .44) ด้านเศรษฐกิจ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.80, S.D.= .37) นักเรียนมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เพียงพอในการศึกษาเล่าเรียนและนักเรียนได้รับการช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้าเครื่อง แต่งกาย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.83, S.D.= .38) และนักเรียนได้รับการช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.74, S.D.= .44) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .35) นักเรียนมีความสุขและภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.85, S.D.= .36) และนักเรียนช่วยเหลือถ้าเพื่อนบาดเจ็บ เจ็บป่วย และให้กำลังใจเมื่อเพื่อนไม่สบายใจและนักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโรงเรียน เชื่อฟังครูและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.76, S.D.= .43) ด้านการเรียนของนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.81, S.D.= .34) นักเรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.85, S.D.= .36) และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและมีความสุขในการเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄= 4.74, S.D.= .44) และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.83, S.D.= .22) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.80, S.D.= .33) และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= .37) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50)
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ดังนี้
5.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จากความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 75 คน โดยภาพรวม พบว่า มีพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.83, S.D.= .30) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ครูประจำชั้นเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาและครูประจำชั้นอบรมให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันสารเสพติด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .35) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50)
5.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จากความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยโป่งไผ่ขวาง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 109 คน โดยภาพรวม พบว่า มีพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.83, S.D.= .30) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า โรงเรียนมีการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชนรวมทั้งหน่วยงานอื่นในการให้การช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนที่โรงเรียนจัดขึ้น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( x̄= 4.86, S.D.= .35) และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.82, S.D.= .32) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.74, S.D.= .42) และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.84, S.D.= .29) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( x̄ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผู้บริหารและครูควรสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักเรียน เช่น นักเรียนได้รับรางวัลคุณธรรมด้านต่างๆ หรือได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรมอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง
1.2 ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน และภาคีเครือข่ายต่างๆเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่างๆ มากขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษากลยุทธ์การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโลกยุคบานี่ (BANI World) ภายหลังจากการเกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด-19
2.2 ควรมีการวิจัยแนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ นักเรียนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม
2.3 ควรประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบอื่นๆ นอกจาก CIPP Model