ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน : นางภัทร์ชนิดร์ ภัทรานนท์
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ เป็นการประเมินผลโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ ประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 420 คน ครูผู้สอน จำนวน 95 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 420 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ทุกฉบับมีค่าความเชื่อมั่น แต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.859 - 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตามความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D = .54) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตามความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59, S.D = .52) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน โดยประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านครูปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ด้านจัดการเรียนรู้ตามแนวศตวรรษที่ 21 และด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลดีต่อนักเรียน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลสงขลา จำแนกเป็น
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลสงขลา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.38 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสงขลา โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 53.66 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป.สงขลา เขต 1) โดยรวม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 42.98 และระดับประเทศ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 40.19 แสดงให้เห็นว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อศิษย์ตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน