ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
โครงการขับเคลื่อนการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างเส้นทางในการประกอบอาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖

โครงการขับเคลื่อนการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างเส้นทางในการประกอบอาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ด้วยนวัตกรรม BSW - D Model

ประเภทรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

๑) ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวด 4 มาตราที่ 22 กำหนดไววาการจัดการศึกษาตองยึดหลักผูเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรูและพัฒนาตนเองไดและถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพและมาตราที่ 24 ดังนี้

1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมใหสอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล

2. ฝกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณและการประยุกตความรูมาใชเพื่อปองกันและแกไขปญหา

3. จัดกิจกรรมใหผูเรียนไดเรียนรูจากประสบการณจริง ฝกการปฏิบัติใหทําได้ คิดเปน ทำเปนรักการอาน และเกิดการใฝรูอยางตอเนื่อง ซึ่งคุณลักษณะดังกลาวเปนความสามารถของผูเรียนที่ทําใหสามารถเรียนรูไดตลอดชีวิต เปนการสงเสริมผูเรียนใหเรียนรูดวยสมอง ดวยกาย และดวยใจ สามารถสรางองคความรูผ่านกระบวนการคิดดวยตนเอง ผูเรียนรูจักเรียนรูในเรื่องที่สอดคลองกับความสามารถและความตองการของตนเองและไดพัฒนาศักยภาพของตนเองอยางเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หนา 97)

แนวคิดการจัดการศึกษานี้เปนรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรูตาง ๆ ที่ไดพัฒนามาอยางตอเนื่องเปนแนวทางที่ไดรับการพิสูจนวาสามารถพัฒนาผูเรียนใหมีคุณลักษณะตามตองการอยางไดผล” (วัฒนาพร ระงับทุกข, 2550, หนา 77) การเรียนรูแบบมีสวนรวม (Active Learning) ที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ สงผลใหเกิดประสิทธิภาพและมีความสําคัญตอการพัฒนาพฤติกรรม การเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูของ ผูเรียนในทุกดาน ทั้งดานรางกาย อารมณ์ สังคมและสติปญญา ซึ่งจะนําไปสูความเปนคนเก่ง คนดี และมีความสุข ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 ในหมวดที่ 4 แนวทาง การจัดการศึกษา มาตรา 22 ที่กลาวไววา“การจัดการศึกษา ตองยึดหลักวา ผูเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรูและพัฒนาตนเองไดและถือวา ผูเรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตองสงเสริมใหผูเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” ซึ่งเปนนิยามเกี่ยวกับ “การเรียนรูเชิงรุก (Active Learning)” ซึ่งเปนรูปแบบการจัดการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 ที่เนนการจัดการเรียนรูใหมีทักษะและความพรอมทางการเรียนรูตลอดไป

การจัดการเรียนรูตามหลักสูตรสถานศึกษา ตองมุงสงเสริมการเรียนรูเชิงรุกใหครูสามารถบูรณาการความรูและประสบการณที่ไดจากการจัดการเรียนรูมาใชในการพัฒนาผูเรียนใหมีคุณภาพมากขึ้น การจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) เปนการจัดการเรียนรูใหผูเรียนมีสวนรวมในกระบวนการคิด การไดรับการปรึกษาชี้แนะ การนําความรูไปใช การถอดบทเรียน การสะทอนคิด รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธและการแลกเปลี่ยนเรียนรูกับผูอื่น เกิดแรงบันดาลใจ เกิดทักษะในการเรียนรูดวยตนเอง สามารถสรางความรูความเขาใจ ความเชี่ยวชาญไดตามความถนัดของตน ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการจัดการเรียนรู้ ตามระดับชวงวัย จะเห็นไดวาการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) เปนกระบวนการเรียนรูของ ผูเรียนที่จะตองใชทั้งการคิด การลงมือทํา การแลกเปลี่ยนเรียนรูกับผูอื่น ผูเรียนไมไดอยูในฐานะผูรับความรูจากครูเทานั้น แตจะตองเปนผูมีบทบาทหรือมีสวนรวมในกระบวนการเรียนรู

อยางตื่นตัว (Active Participation) ซึ่งตรงกับความหมายที่ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๑) ไดใหไววา “การเรียนรูเชิงรุก คือ การจัดการเรียนรูที่ผูเรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรูอยางมีชีวิตชีวาและอยางตื่นตัว” และ ทิศนา แขมมณี (๒๕5๕) ไดขยายความแนวคิดของคําวา “Active Participation” ไววา หมายถึง การมีสวนรวมอย่างตื่นตัว ศัพทภาษาอังกฤษ คือ Active Participation หมายถึง การมีสวนรวมที่ผูเรียนรูเปนผูจัดกระทํา ตอสิ่งเรา(สิ่งที่เรียนรู) มิใชเพียงรับสิ่งเราหรือการมีสวนรวมอยางเปนผูรับ (Passive Participation) เทานั้น การมีสวนรวม

อยางตื่นตัวที่จะชวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรูที่แทจริงไดดีควรเปนการตื่นตัว ที่เปนไปอยางรอบดานทั้งดานกาย สติปญญา สังคม และอารมณ เพราะพัฒนาการทั้ง ๔ ดาน มีความสัมพันธตอกันและสงผลตอการเรียนรูของ

ผูเรียน ดังรายละเอียดตอไปนี้

๑. การมีสวนรวมอยางตื่นตัวทางกาย (Active Participation : Physical) คือ การใหผูเรียนมีสวนรวมในกิจกรรมการเรียนรูที่ชวยใหผูเรียนไดเคลื่อนไหวรางกายทํากิจกรรมตาง ๆ ที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของผูเรียนเพื่อชวยใหรางกายและประสาทรับรูตื่นตัวพรอมที่จะรับรูและเรียนรูไดดี

๒. การมีสวนรวมอยางตื่นตัวทางสติปญญา (Active Participation : Intellectual) คือ การให้ผูเรียนมี

สวนรวมในกิจกรรมการเรียนรูที่ชวยใหผูเรียนไดเคลื่อนไหวทางสติปญญาหรือสมอง ไดคิด ไดกระทํา โดยใชความคิดเปนการใชสติปญญาของตนสรางความหมายความเขาใจในสิ่งที่เรียนรู

๓. การมีสวนรวมอยางตื่นตัวทางอารมณ (Active Participation : Emotional) คือ การใหผูเรียนมีสวน

รวมในกิจกรรมการเรียนรูที่ชวยใหผูเรียนไดเคลื่อนไหวทางอารมณหรือความรูสึก การเกิดความรูสึกของบุคคลจะ

ชวยใหการเรียนรูมีความหมายตอตนเองและตอการปฏิบัติมากขึ้น

๔. การมีสวนรวมอยางตื่นตัวทางสังคม (Active Participation : Social) คือ การใหผูเรียนมีสวนรวมในกิจกรรมการเรียนรูที่ชวยใหผูเรียนไดเคลื่อนไหวทางสังคมหรือมีปฏิสัมพันธทางสังคมกับผูอื่นและสิ่งแวดลอมรอบตัว จะชวยขยายขอบเขตของการเรียนรูของบุคคลใหกวางขวางขึ้นและการเรียนรูจะเปนกระบวนการที่สนุกมีชีวิตชีวามากขึ้น

หากครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรูที่สงเสริมใหผูเรียนมีบทบาทสําคัญในการเรียนรูโดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรูอยางตื่นตัวทั้ง ๔ ดาน คือ ดานรางกายไดเคลื่อนไหวปฏิบัติตาง ๆ ดานสติปญญาไดใชความคิด ดานสังคมไดมีปฏิสัมพันธแลกเปลี่ยนเรียนรูกับผูอื่นและดานอารมณเกิด ความรูสึกอันจะชวยใหการเรียนรูมีความหมายตอตน ซึ่งการมีสวนรวมในลักษณะดังกลาวจะเปนปจจัยที่สงผลใหผูเรียนเกิดการเรียนรูอยางแทจริง

โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๖ หมู่ที่ ๓ ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปีการศึกษา 256๖ มีนักเรียนจำนวน ๑๔๖ คน นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร มีฐานะยากจนและมีแนวโน้มออกกลางคัน นักเรียนต้องช่วยเหลือผู้ปกครองทำงานหาเลี้ยงครอบครัว บางกรณีบิดามารดาเสียชีวิตหรือไปทำงานนอกพื้นที่ นักเรียนต้องอาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งมีอายุมากและรายได้น้อย บางคนมาจากครอบครัวที่หย่าร้าง เมื่อวิเคราะห์ปัญหา พบว่า รายได้ของครอบครัวมีส่วนสำคัญในการมาเรียนของนักเรียน

ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้เรียนที่เป็นนักเรียนด้อยโอกาสและส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้

ระหว่างเรียน เพื่อให้ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พัฒนาความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการ

ประกอบอาชีพที่ตรงตามความถนัดและศักยภาพของนักเรียน และที่สำคัญเป็นการปลูกฝังค่านิยมและเจตคติที่ดี ซึ่งโรงเรียนบ่อสวกวิทยาคารมีความพร้อมในด้าน แหล่งเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงควรส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ควบคู่กับการฝึกประกอบอาชีพซึ่งถือ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์และผลผลิตให้บริการบนฐานเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าของสินค้า เพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียน จึงได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ BSW - D Model ขึ้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร และเป็นการพัฒนาความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

แนวคิดในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ

การบริหารงานวิชาการ คือ กิจกรรมที่ เป็นหัวใจของงานบริหาร เป็นการจัดกิจกรรม เพื่อให้

เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิชาการมีขอบข่ายกว้างขวางในด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการเป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน จัดตารางสอน กำหนดรายวิชา ผู้สอน สถานที่ ตลอดจนการบริหารจัดการชั้นเรียน การนิเทศติดตามผลเพื่อปรับปรุงแก้ปัญหาการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผลเพื่อการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการเรียน (มะโน สีทอง, 2554) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและ สถาบันอื่น โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชนประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ประสานความร่วมมือวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน รวมถึงการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถานศึกษาอื่นหรือสถานประกอบการ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542)

1.2 ความจำเป็นในการพัฒนาด้านทักษะอาชีพ

1.2.1 ความจำเป็นในการฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพ การพัฒนาทักษะอาชีพด้านต่าง ๆ

ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ได้แก่ ความรู้ ความสามารถในกระบวนการผลิต และกระบวนการการตลาด การพัฒนาอาชีพมีความสำคัญและจำเป็น ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ จากการแข่งขันทางธุรกิจที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูง จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาสินค้าให้สามารถเข้าสู่ตลาดการแข่งขันและเป็นที่ยอมรับ 2) ด้านสังคม ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีจะส่งผลให้สภาพสังคมดีขึ้น 3) ด้านการศึกษา ครอบครัวที่มีเศรษฐกิจดีจะสามารถส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาได้ตามความต้องการ และในอนาคตเยาวชนเหล่านี้ก็จะเป็นประชากรที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบอาชีพ ส่งผลต่อเศรษฐกิจสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป

1.2.2 ความจำเป็นในการพัฒนากระบวนการผลิต จากสภาพสังคมที่มีการ

เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและด้าน คุณภาพ ดังนั้นการพัฒนาอาชีพจึงมีความจำเป็นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เทคนิคและวิธีการในการ พัฒนากระบวนการผลิต และกระบวนการตลาด โดยการนำภูมิปัญญา นวัตกรรม เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการประกอบอาชีพ

1.2.3 ความจำเป็นในการพัฒนากระบวนการตลาด เป็นการบริหาร จัดการด้านการตลาด เริ่มตั้งแต่การศึกษาความต้องการของลูกค้า การกำหนดเป้าหมาย การทำแผนการตลาด การ ส่งเสริมการขาย การบริการหลังการขาย ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาวิเคราะห์การส่งเสริมการขายที่ดำเนินการอยู่ ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร ควรมีการปรับปรุงวิธีการหรือไม่ อย่างไร (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย, 2555)

1.3 การเสริมทักษะอาชีพในสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ

ในสถานศึกษาเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับมีทักษะและศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น การส่งเสริมทักษะอาชีพช่วยให้นักเรียนสามารถก้าวสู่โลกการทำงาน หรือการศึกษาต่ออย่างมีคุณภาพ เป้าหมายการเสริมทักษะอาชีพในสถานศึกษาจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยคำนึงถึงพัฒนาการและความพร้อมของแต่ละช่วงวัยของนักเรียน ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561)

1.3.1 ระดับปฐมวัย เตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์

จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและ เหมาะสมตามวัย ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ประหยัด พอเพียง รวมถึงมีโอกาสได้ เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง บุคคลและสภาพแวดล้อม

1.3.2 ระดับประถมศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมแนะแนว

ให้นักเรียนรู้จักอาชีพและเห็นความสำคัญของอาชีพ ทั้งอาชีพของครอบครัว อาชีพของชุมชน อาชีพในท้องถิ่น อาชีพภายในประเทศและอาชีพนานาชาติ ให้นักเรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงาน รู้จักใช้เครื่องมือง่าย ๆ ในการทำงาน และสามารถทำงานด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนได้ สร้างเสริมลักษณะนิสัยในการทำงานที่พึง ประสงค์ ทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน ประหยัด อดออม รวมถึงการใช้ พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า

1.3.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนที่

เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักตนเอง ค้นพบตนเอง สามารถตัดสินใจวางแผนศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพหรือออกไปประกอบ อาชีพต่อไปในอนาคต และค้นหาความต้องการของตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกอาชีพที่เหมาะสม สามารถ วางแผนการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ และเชื่อมโยงการศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาอย่างมีเป้าหมาย หรือกรณีที่ไม่ประสงค์จะศึกษาต่อก็สามารถนำทักษะอาชีพไปประยุกต์ใช้ในการ ประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงตนเองต่อไป

1.3.4 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เตรียมนักเรียนเข้าสู่การประกอบอาชีพ ศึกษา

ต่อใน สาขาอาชีพที่ตนถนัด สถานศึกษาควรจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อวางพื้นฐานความรู้และทักษะอาชีพ เฉพาะทางมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความต้องการ มีโอกาสได้รับประสบการณ์และ ฝึกทักษะทางอาชีพ รวมถึงการปรับตัวเข้ากับอาชีพ

การดำเนินการจัดการเสริมทักษะอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา ต้องอาศัยความร่วมมือ ของ

บุคลากรในและนอกสถานศึกษาเพื่อระดมความคิดและประสบการณ์ในการกำหนดหลักสูตร รายวิชาหรือ กิจกรรม เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์งานอาชีพที่นักเรียนสนใจ ขั้นตอนที่ 2 ประสานความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 4 กำหนดเนื้อหาสาระและแนวทางการวัดและประเมินผล

จากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้นำมาเป็นแนวทางการออกแบบนวัตกรรมการจัดการ เรียนรู้

เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของ โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคารที่มีแหล่งเรียนรู้หลากหลาย เป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่โลกแห่งการทำงานต่อไป

๒) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

2.1.1 เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร

2.1.2 เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ โรงเรียน

บ่อสวกวิทยาคาร

2.1.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน

2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร

ปีการศึกษา 256๖ จำนวน 1๔๖ คน ได้รับการส่งเสริมทักษะอาชีพ ด้วยนวัตกรรม BSW - D Model

2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ ได้แก่ ได้รูปแบบการส่งเสริมทักษะอาชีพ และนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคารมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

๓) ขั้นตอนการดำเนินงาน

การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างเส้นทางในการประกอบอาชีพ ด้วยนวัตกรรม BSW - D Model

3.1 สำรวจปัจจัยพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร โรงเรียน ร่วมกับผู้ปกครอง

ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการประชุมพร้อมสรุปปัญหา พบว่านักเรียนโรงเรียนบ่อสวกวิทยาคารมีส่วนใหญ่ พ่อ แม่ แยกทางกัน จึงอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกร และมีฐานะค่อนข้างยากจน

3.2 สำรวจอาชีพ และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน, แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และทำ

การสำรวจข้อมูล บริบทของชุมชนในด้านสถานประกอบการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณโรงเรียน จัดทำเป็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและสถานประกอบการ

3.3 พัฒนาบุคลากรด้านการสอนวิชาชีพ ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความรู้

เพิ่มเติมในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมอาชีพในโรงเรียน และมีการเชิญวิทยากร ปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักเรียน

3.4 พัฒนาหลักสูตรและจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อบูรณาการการจัดการเรียนรู้สู่การส่งเสริม

ทักษะอาชีพ โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น โดยจัดทำเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสมุนไพรของดีวิถีบ่อสวก

3.5 นิเทศติดตามและประเมินผล

แนวทางการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างเส้นทางในการประกอบอาชีพ ด้วยนวัตกรรม BSW - D Model

การนำรูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างเส้นทางในการประกอบอาชีพ

ด้วยนวัตกรรม BSW -D Model มาใช้ในกิจกรรมสมุนไพรของดี วิถีบ่อสวก

B – Brainstrom : การระดมสมอง

นักเรียนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่จริงๆ แล้วทุกคนล้วนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง เพียงแค่ยังไม่ถูกหยิบมาใช้อย่างที่ควรจะเป็น หรือข้อจำกัดบางอย่างที่คอยขวางไม่ให้เราสร้างสรรค์ ครูที่ปรึกษาอาจให้คำแนะนำ จะช่วยให้นักเรียนได้กลับไปสู่พื้นที่นั้นอีกครั้งด้วยการทำให้เราออกจากกรอบ เปิดโล่ง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ต่อยอด และไม่กลัวผิด นั่นคือหัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ และจะสามารถคิดสร้างสรรค์กิจกรรมกลุ่มออกมาได้

S – Skill : ทักษะ

ทักษะที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อการปฏิบัติกิจกรรมคือ ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือชุดของทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ถือว่าจำเป็นสำหรับบุคคลที่จะเติบโต และประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ทักษะใหญ่ๆ คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital & Information Literacy Skills) และทักษะชีวิต (Life Skills) ทักษะเหล่านี้นอกเหนือจากวิชาวิชาการทั่วไปแล้ว มุ่งเน้นที่การเตรียมบุคคลให้พร้อมสำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความท้าทายที่พวกเขาอาจเผชิญ ทักษะอาชีพ ทักษะกระบวนการคิด แก้ปัญหา และทักษะกระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรม

W – Workshop : การประชุมเชิงปฏิบัติการ

โดย การจัดตั้งกลุ่มเพื่อร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมแก้ไขปัญหา โดยผู้สอนจัดบรรยากาศที่เหมาะสมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก บรรยากาศที่มีความสุข ผ่อนคลาย ไม่กดดัน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขผู้เรียนมีชิ้นงาน ผลงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว ส่งงานทุกครั้ง มีความกล้าแสดงออก สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น นำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และเรียนรู้อย่างมีความสุข

D – Doing : การลงมือปฏิบัติกิจกรรม

กระบวนการจัดการเรียนรู้ Active learning ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดแก่ผู้เรียน จากการลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้จากสิ่งที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมผ่านการพูด การอ่าน การเขียน การอภิปรายและการสะท้อนความคิดร่วมกัน

ตาราง ๑ โครงสร้างกิจกรรมสมุนไพรของดี วิถีบ่อสวก

เรื่อง/เวลา ผลการเรียนรู้ ภาระชิ้นงาน สื่อ/แหล่งเรียนรู้

1. ความรู้พื้นฐานของตำบลบ่อสวก

( ๑ ชั่วโมง) ๑.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อสวก 1. สรุปความรู้เป็น

แผนผังความคิด ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๒. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

(๒ ชั่วโมง) ๑.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ในตำบลบ่อสวก 1. สรุปความรู้เป็น

แผนผังความคิด ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๓. ของดีวิถีบ่อสวก

(๒ ชั่วโมง) ๑.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของดีในตำบลบ่อสวก 1. สรุปความรู้เป็น

แผนผังความคิด ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๔. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร

(๒ ชั่วโมง) ๑.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

๒. ได้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาแปรรูป 1. สรุปความรู้เป็น

แผนผังความคิด

๒. ใบงาน 1. บทความ

2. วีดิทัศน์

3. เว็บไซต์ต่าง ๆ

๕. กิจกรรมกาดนัดเด็กบ่อสวก ครั้งที่ ๑ (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนได้รับความรู้ในการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ๑. บัญชีรายรับ รายจ่าย ของห้อง ๑. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

๖. กิจกรรมสมุนไพรลูกประคบ

(๒ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในการนำมาทำลูกประคบ ๑. ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๖. กิจกรรมสมุนไพรดีน้ำพริกข่า (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนมีความรู้ในการนำสมุนไพรมาทำน้ำพริกข่า ๑. น้ำพริกข่า ๑. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

๗. กิจกรรมกาดนัดเด็กบ่อสวก ครั้งที่ ๒ (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนได้รับความรู้ในการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ๑. บัญชีรายรับ รายจ่าย ของห้อง ๑. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

๘. กิจกรรมการตัดตุงไส้หมู (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับตุงไส้หมู ๑. ผลิตภัณฑ์ตุงไส้หมู ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๘. กิจกรรมการทำกรวยดอกไม้ (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนมีความรู้ในการทำกรวยดอกไม้ ๑. กรวยดอกไม้ ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๙. กิจกรรมกาดนัดเด็กบ่อสวก ครั้งที่ ๓ (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนได้รับความรู้ในการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ๑. บัญชีรายรับ รายจ่าย ของห้อง ๑. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

๑๐. กิจกรรมจักสานเพื่ออาชีพ ( ๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนมีความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์จักสาน ๑. ผลิตภัณฑ์จักสาน ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

11. ผลิตภัณฑ์กลิ่นอับชื้นจากใบเตย

(๑ ชั่วโมง) 1. นักเรียนมีความรู้เรื่องสมุนไพร

๑. ผลิตภัณฑ์ของนักเรียน

๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๑2. กิจกรรมกาดนัดเด็กบ่อสวก ครั้งที่ ๔ (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนได้รับความรู้ในการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ๑. บัญชีรายรับ รายจ่าย ของห้อง ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

3. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

๑3. การนำเสนอและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม (๑ ชั่วโมง) ๑. นักเรียนสามรถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมสุนไพรของดี วิถีบ่อสวกได้ ๑. ผลิตภัณฑ์ของนักเรียน

๒. แบบรายงาน ๑. ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. แหล่งเรียนรู้ตำบลบ่อสวก

๓. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

๔) ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

การบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างเส้นทางในการประกอบอาชีพ โดยใช้ BSW - D Model มาใช้ในกิจกรรมสมุนไพรของดี วิถีบ่อสวก ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาทั้ง ทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะกระบวนการในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งใหม่ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอย่างเป็นประโยชน์ มีความรู้ความสามารถในด้านทักษะอาชีพเพิ่มมากขึ้น นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ ดำเนินงานกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.23, S.D.= ๐.58) ดังตาราง ๒

ตาราง ๒ ผลการประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมสมุนไพรของดี วิถีบ่อสวก

ประเด็นความพึงพอใจ x ̅ S.D. แปลผล

ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ 4.10 .74 มาก

ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 4.26 .65 มาก

สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 4.16 .69 มาก

ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ 4.42 .69 มาก

ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 4.26 .73 มาก

ความสนุกสนานในกิจกรรมการเรียนรู้ 4.37 .68 มาก

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดการเรียนรู้ 4.11 .66 มาก

ความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ 4.21 .63 มาก

รวม 4.23 .58 มาก

๕) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปัจจัยภายใน

๑. ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญ ส่งเสริม สนับสนุน กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการมีงานทำอย่างชัดเจน

๒. ครูผู้สอน มีความตระหนัก ให้ความสำคัญและมีความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นทักษะงานทักษะอาชีพ

๓. นักเรียนใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่น สนใจศึกษาข้อมูลด้านอาชีพ เพื่อนำความรู้ ทักษะที่ได้ไปเป็น แนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต

ปัจจัยภายนอก

ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอกให้ความร่วมมือช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดีระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนเรื่องแหล่งเรียนรู้และการเป็นวิทยากรท้องถิ่นให้แก่นักเรียน

๖) บทเรียนที่ได้รับ

การจัดการเรียนการสอนเพื่อการมีงานทำ เพื่อมีทักษะอาชีพ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้การจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ ส่งผลต่อทุกที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนที่ได้รับดังนี้

๑. นักเรียน มีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิด ทักษะการทำงาน และทักษะชีวิต มีสมรรถนะทางอาชีพ เพื่อนำไปใช้วางแผนการศึกษาต่อหรือเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพจากการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมั่นใจ

๒. ครู มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมผลที่เกิดกับผู้เรียน

๓. ผู้ปกครอง และชุมชน มีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

๗) การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามสปอร์ต ชินดิเคท จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (๒๕5๕). ศาสตรการสอน : องคความรูเพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรูที่มี

มะโน สีทอง. (2554). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1 - 2 ในอำเภอ

ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนดุสิต.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๑). พจนานุกรมศัพทพอลิเมอร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน / ราชบัณฑิตยสถาน.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน

วัฒนาพร ระงับทุกข. (2550). ยุทธศาสตรการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.

วารสารวิชาการ, 10(2), 3 - 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริม

ประสบการณ์อาชีพให้กับนักเรียน. กลุ่มพัฒนาระบบการแนะแนว สำนักวิชาการและมาตรฐาน

การศึกษา.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555). ชุดวิชาทักษะการพัฒนาอาชีพ (อช21002). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ภาคผนวก

กิจกรรม “กาดนัดเด็กบ่อสวก” ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖

กิจกรรม “กาดนัดเด็กบ่อสวก” ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖

กิจกรรม “กาดนัดเด็กบ่อสวก” ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖

กิจกรรม สมุนไพรของดี (การทำลูกประคบสมุนไพร)

กิจกรรม ตัดตุงไส้หมู

กิจกรรมทำกรวยดอกไม้

กิจกรรม สมุนไพรดี น้ำพริกข่า เพื่อสุขภาพ

กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ ตำบลบ่อสวก

แสดงคาบสอนของครู โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร (คาบที่ 7 วันพฤหัสบดี วิชา สมุนไพรวิถีฯ)

แผนภาพนวัตกรรม BSW - D Model

ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม กาดนัดเด็กบ่อสวก ครั้งที่ 1 - 4

โพสต์โดย AnusaraIntapa : [17 ส.ค. 2566 เวลา 06:35 น.]
อ่าน [1955] ไอพี : 182.53.235.28
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 19,615 ครั้ง
คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย
คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย

เปิดอ่าน 9,834 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 81 ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง Active Learning เปลี่ยนห้องเรียนสู่คุณภาพศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
จดหมายฉบับที่ 81 ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง Active Learning เปลี่ยนห้องเรียนสู่คุณภาพศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม

เปิดอ่าน 85,512 ครั้ง
วิธีทำ  น้ำพริกอ่อง เมนูสุขภาพ
วิธีทำ น้ำพริกอ่อง เมนูสุขภาพ

เปิดอ่าน 13,405 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552

เปิดอ่าน 10,854 ครั้ง
แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5S และ iPhone 5C อย่างเป็นทางการ(10ก.ย.56)
แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5S และ iPhone 5C อย่างเป็นทางการ(10ก.ย.56)

เปิดอ่าน 19,248 ครั้ง
วิธีกินอย่างฉลาด
วิธีกินอย่างฉลาด

เปิดอ่าน 1,103 ครั้ง
Computer Graphic คืออะไร
Computer Graphic คืออะไร

เปิดอ่าน 10,537 ครั้ง
17 พฤติกรรมบ่งชี้ ออทิสติกในเด็ก
17 พฤติกรรมบ่งชี้ ออทิสติกในเด็ก

เปิดอ่าน 35,734 ครั้ง
คุณหมอเผย 9 เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้เรียนเก่ง
คุณหมอเผย 9 เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้เรียนเก่ง

เปิดอ่าน 6,351 ครั้ง
การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ
การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ

เปิดอ่าน 2,491 ครั้ง
ยางนา
ยางนา

เปิดอ่าน 15,644 ครั้ง
เคล็ดลับเด็ด "ลดหน้าท้อง"
เคล็ดลับเด็ด "ลดหน้าท้อง"

เปิดอ่าน 12,779 ครั้ง
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์

เปิดอ่าน 15,932 ครั้ง
ยาคุมแบบฉีด ทำมวลกระดูกเสื่อมอย่างน้อย 5%
ยาคุมแบบฉีด ทำมวลกระดูกเสื่อมอย่างน้อย 5%

เปิดอ่าน 10,321 ครั้ง
การศึกษา สู่สนามแข่งขันเวทีอาเซียน ให้จับตาเวียดนาม
การศึกษา สู่สนามแข่งขันเวทีอาเซียน ให้จับตาเวียดนาม

เปิดอ่าน 146,560 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
เปิดอ่าน 39,143 ครั้ง
การแก้ระบบสมการ โดยใช้วิธีเมตริกผกผัน
การแก้ระบบสมการ โดยใช้วิธีเมตริกผกผัน
เปิดอ่าน 14,020 ครั้ง
LINEเพิ่มฟีเจอร์ไอคอนรูปกุญแจในห้องแชท
LINEเพิ่มฟีเจอร์ไอคอนรูปกุญแจในห้องแชท
เปิดอ่าน 13,852 ครั้ง
สัญญาณบอกอาการ 15 โรคฮิต เช็กดูสักนิด ก่อนจิตตก
สัญญาณบอกอาการ 15 โรคฮิต เช็กดูสักนิด ก่อนจิตตก
เปิดอ่าน 20,949 ครั้ง
จิตรกรรม
จิตรกรรม

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ