การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ TGT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงมีแนวความคิดที่จะนำเทคนิค วิธีสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันแบบการประสบความสำเร็จเป็นทีมประกอบแบบฝึกเสริมทักษะ โดยมีความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ TGT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล ๑ กิตติขจร สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองตาก อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด คือ
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ TGT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 แผนการจัดการเรียนรู้
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.22 ถึง 0.83 มีค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 0.77 และ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และ 3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.31 ถึง 0.66 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า โดยภาพรวมครูผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัด เทศบาลเมืองตาก มีสภาพปัญหาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก
( = 3.51) และความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( = 3.50) 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ TGT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า การบูรณาการกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ร่วมกับการวิจัยแบบร่วมมือเทคนิค TGT มีขั้นตอน การสอน 5 ขั้นตอน (TGT4S Model) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ (TGT) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (TGT) 2.1) การแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับปัญหา แยกแยะประเด็นปัญหา ( Search : S ) 2.2) การวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา หรือการหาคำตอบของปัญหา ( Solve : S ) 2.3) การจัดกระทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ
( Step : S ) 2.4) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีแก้ปัญหา ( Share : S )
ขั้นที่ 3 ขั้นจัดทีม (TGT) ขั้นที่ 4 ขั้นการแข่งขัน (TGT) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (TGT) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.69/81.03
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ TGT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.38/81.30 และมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่าหลังเรียน เมื่อวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.63 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่ต้องการ คือ ตั้งแต่ 0.50 เป็นต้นไปแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 63
4. นักเรียนมีความพึงพอใจระดับพอใจมากที่สุด ทุกรายการ โดยนักเรียนมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.84 คะแนน
โดยสรุปผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกแบบฝึกเสริมทักษะ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ TGT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อทักษะ และความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น โดยควรมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโดยวิธีการจัดการเรียนรู้เทคนิค ThinkPare-Share ร่วมกับ Game Based Learning ในกลุ่มสาระการเรียนรู้เนื้อหาอื่น ๆ และระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้จะได้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น