ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย จิราพัชร์ วัชธนธิกุลพงศ์
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะ
การพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยนำแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบรูปแบบการสอนมาประยุกต์ร่วมใช้ร่วมกับขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่สอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 41 (บ้านหัวนาศรีวิเชียรประชาอุทิศ) อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 19 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่า
ประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติที (t - test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 พบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.33, S.D.= 0.69) โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านวิธีการสอน/กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้านสื่อการเรียนรู้และด้านวิธีการวัดและประเมินผล และ 2) ผลการสังเคราะห์ความต้องการจากข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของครูที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 พบว่า ครูอยากให้มีการออกแบบและจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม สอนโดยใช้สิ่งเร้า การเสริมแรงเน้นการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนอยากปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงจูงใจในการเรียน เน้นการใช้ภาษาเหมาะสมกับสถานการณ์จัดการเรียนรู้เพื่อสร้างนิสัยรักการใช้ภาษา ส่งเสริมการใช้ภาษาพูดและเขียนเพื่อการสื่อสาร 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด
และเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบสำคัญ 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3)ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน และ 7) การประเมินผล โดยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี5 ขั้น คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Review : R) ขั้นทำความเข้าใจ (Understanding : U) ขั้นฝึกทักษะ (Practice : P) ขั้นประยุกต์ใช้ (Apply : A) และขั้น
ประเมินผล (Evaluate : E) และผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ไปใช้ สรุปได้ดังนี้3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เท่ากับ
83.74/83.29 ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการพูด เท่ากับ 12.79 คิดเป็นร้อยละ 85.26 และมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เท่ากับ 14.00 คิด
เป็นร้อยละ 87.50 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RUPAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีความพึงพอใจในการเรียนอยู่
ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.57, S.D. = 0.51)