ชื่อเรื่อง การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL ระดับชั้น ปฐมวัยปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงซ่อม
ผู้รายงาน นางสาวสุภารัตน์ ช่วงบัญญัติ
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มุ่งพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL ระดับชั้น ปฐมวัยปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงซ่อม โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL ระหว่างและหลังได้รับการจัดประสบการ โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ DER MODEL ประกอบการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เชิงรุก และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการกำหนดกรอบแนวคิด และกำหนดรูปแบบของขั้นตอนการเรียนการสอนเชิงรุก และแนวทางการประยุกต์ใช้สรุปเป็นแนวทางการทำวิจัย การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL ระดับชั้น ปฐมวัยปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงซ่อม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการสอน ได้แก่ 1) กำหนดแผนการจัดประสบการณ์การพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็กเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL 2) สร้างแผนการจัดประสบการณ์การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ DER MODEL ดังนี้ 1. Development การพัฒนาแผน 2. Executive Function : EF ความสามารถในการบริหารจัดการตนเองของเด็กปฐมวัย 3. Review การทบทวนอย่างสร้างสรรค์ 3) การปฏิบัติกิจกรรมดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1. วิเคราะห์ผู้เรียน หลักการ และแนวคิดการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก 2. ประชุม ออกแบบ กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา ผู้บริหาร คณะครู และครูปฐมวัยประชุมชี้แจง กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาตามหลักสูตร และหาแนวทางการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก 3. กำหนดการอบแนวคิด ศึกษา ค้นคว้าหาแผนจัดประสบการณ์ ที่เหมาะสมกับบริบทในห้องเรียน โดยองค์รวม ความรู้ที่ได้มากำหนด เป็นกรอบแนวคิดเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4. ออกแบบกิจกรรม ออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบท ภายในห้องเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรปฐมวัย 2560 เพื่อสอดแทรกเนื้อหาที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและวางแผนการใช้แผนการจัดกิจกรรมใน 4 สัปดาห์ 1. จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละห้าวันวันละ 40 นาทีระยะเวลา 10.00 ถึง 10.40 น. รวม 20 ครั้งในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2. จัดเตรียมใบงานชิ้นงานวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละวันจำนวนวันละ 1 ชุด 3. กำหนดข้อตกลงในการทำกิจกรรมก่อนการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทุกครั้ง
4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามขั้นตอนการทำกิจกรรม โดยศึกษาการทำกิจกรรมในแต่ละวัน 5. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 5. นำกิจกรรมไปใช้ในห้องเรียน นำกิจกรรมไปใช้ในห้องเรียนจัดกิจกรรมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ การปั้น การพิมพ์ภาพ งานกระดาษ การทดลองด้วยสี และการประดิษฐ์จากเศษวัสดุ การปั้น การปั้นดินน้ำมัน เป็นเรื่องราวหรือตามจินตนาการของเด็ก การพิมพ์ภาพ การพิมพ์ภาพด้วยเศษวัสดุหรือฟองน้ำหรือกระดาษขยุ้ม หรือใบไม้ ก้านกล้วย งานกระดาษ การฉีก พับ ตัด ปะกระดาษ การขยำกระดาษ การม้วนกระดาษ การทดลองด้วยสี การเทสี การหยดสี การพับสี การจุ่มสี การกลิ้งสี การทับสี การเป่าสี การลูบสี การละเลงสีด้วยนิ้วมือ มือ ข้อศอก การประดิษฐ์จากเศษวัสดุ การประดิษฐ์รถลาก การประดิษฐ์ตุ๊กตา หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ การประดิษฐ์ของใช้อื่น ๆ 6. ติดตามประเมินผล หลังจากทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เด็ก ๆ สื่อสารความคิดผ่านทางงานศิลปะ แสดงออกถึงสิ่งที่จะสื่อสารออกมาให้ครูผู้สอน และเพื่อนๆเข้าใจ ครูประเมินผลโดยใช้แบบประเมินพัฒนาการ หลังแผนการสอนจากการปฏิบัติของเด็ก ๆ ด้วยการสังเกตพฤติกรรม ในการทำกิจกรรม และผลงานของเด็ก 7. ผู้เรียนสะท้อนผลงานของตนเอง เด็ก ๆ อภิปรายผลงานหน้าชั้นเรียนหลังจากที่ได้ทำกิจกรรม 8. สะท้อนคุณภาพผู้เรียน อภิปรายสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ครูผู้สอนรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในที่ประชุม และนำเสนอผลการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยตามวัตถุประสงค์ และความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า1) เด็กได้รับการส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL มีพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ดีขึ้น ร้อยละ 80 2) หลังการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก พบว่าการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL มีพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สูงกว่าก่อนการทดลอง ร้อยละ 89.62
สรุปผล 1. การพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL เด็กมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถของกล้ามเนื้อมัดเล็กในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา มีความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และมีความสามารถดัดแปลงและแปลกใหม่จากเดิม2. ทักษะพื้นฐาน เด็กสามารถถ่ายทอดปรสบการณ์เดิม เด็กจะได้ใช้ความคิดริเริ่มและความคิดยืดหยุ่นจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานศิลปะที่มีการพริกแพลงสิ่งใหม่ ๆ ที่ต่อยอดจากประสบการณ์เดิมหรือมาจากความรู้ใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาผ่านวัสดุที่อาจมีข้อจำกัดในการเรียนแบบระหว่างทำงานทำให้เกิเดการคิดแก้ปัญหาพลิกแพลง จนเกิดชิ้นงานแบบใหม่ 3. ทักษะกำกับตนเอง เพราะหากเด็กไม่จดจ่อใส่ใจกับงานที่ทำ เด็กจะทำงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด สามารถความคุมอารมณ์ตนเอง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าบางครั้งความเร็วอย่างเดียวไม่ได้ทำให้ งานที่ทำเสร็จก่อนใคร อาจจะต้องใช้การจดจ่อ และการใส่ใจร่วมด้วยจึงจะทำให้งานที่ทำเป็นไปตามข้อตกลงที่กำหนด ลดความผิดพลาด ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะนำพาซึ่งความสำเร็จได้เช่นกัน 4. ทักษะปฏิบัติ ในการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา เด็กมีความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว การทำงานที่เด็กได้รับมอบหมาย ดังนั้นเด็กจะใช้ความพยายามใช้ความมุ่งมั่นอดทน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ ก็ต้องฝาฟันจนถึงความสำเร็จ 5. เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ที่เพิ่มมากขึ้น ที่เกิดจากการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านทักษะต่าง ๆ ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อม ด้วยการรับรู้ สังเกต จดจำ วิเคราะห์ รู้คิด รู้เหตุผล และแก้ปัญหา ทำให้ปรับตัวและเพิ่มทักษะใหม่
ประโยชน์ที่เกิดจากนวัตกรรม 1. ผู้อำนวยการและคณะครูในโรงเรียน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดประสบการณ์โดยการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ DER MODEL เพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย นำมาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ต่อผู้เรียน 2. แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางวิชาชีพพี PLC เกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานความสำเร็จและอุปสรรคในการจัดประสบการณ์ต่อเพื่อนครูในโรงเรียน 3. สถานศึกษาได้รับความไว้วางใจในการจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัยจากชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน และนอกเขตบริการอย่างต่อเนื่องทุกปี 4. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยของเด็กปฐมวัย และให้การสนับสนุนร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของครูผู้สอน 5. ชุมชนจัดการศึกษาที่สนองนโยบายสอดคล้องกับมาตรฐานและพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ