ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวช่อทิพย์ เลิศล้ำ
โรงเรียน โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา (Problembased Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL)รายวิชาสังคมศึกษา และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.63 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.92 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาว ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL)รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.81/82.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.68
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problembased Learning : PBL) รายวิชาสังคมศึกษา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก