ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวจินตนา เกตุพิบูลย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ สำนักงานเขตบางนา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา
ปีการศึกษา 2563 - 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมจำนวนทั้งหมด 9 คน ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพรูปแบบฯ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบฯ และหาคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนสอนแบบโครงงาน จำนวน 2 คน ตัวแทนครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา จำนวน 3 คน ตัวแทนผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนสอน คือ ตัวแทนผู้ปกครอง 1 คน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 คน รวม 7 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบฯ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอน รวมจำนวนทั้งหมด 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีแบบ t-test (Dependent Sample) วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Contents Analysis) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และหาข้อสรุปร่วม (Common Conclusion)
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
1. สภาพปัญหาและแนวทางในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ตามวงจร PDCA ร่วมกับ PBL การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียน และกิจกรรม ที่จัดร่วมกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต
2. รูปแบบฯ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Define (การกำหนดปัญหา) ขั้นที่ 2 Plan (การวางแผน) ขั้นที่ 3 Do (การลงมือทำ) ขั้นที่ 4 Check (การตรวจสอบผลการปฏิบัติ) ขั้นที่ 5 Review (การทบทวนการเรียนรู้) ขั้นที่ 6 Presentation (การนำเสนอ) และขั้นที่ 7 Action (การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข) การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียน ชุดการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และกิจกรรมที่จัดร่วมกับบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และคุณภาพของรูปแบบฯ มีความเหมาะสมและความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ โดยภาพรวมรูปแบบฯ มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบฯ เอกสารประกอบการเรียน ชุดการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านคุณภาพโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 มีประสิทธิภาพร้อยละ 84.31/83.08 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 คะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการใช้มีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนใช้ และหลังการใช้มีค่าดัชนีประสิทธิผลโดยภาพรวมนักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.648 คิดเป็นร้อยละ 64.80 นักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด รวมทั้งนักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานโครงงาน จำนวน 7 ผลงาน ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: รูปแบบ/การจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น /เอกสารประกอบการเรียน