การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2). เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม กับรูปแบบการเรียนการสอนตามปกติ (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 37 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ซึ่งนักเรียนมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน เนื่องจากทางโรงเรียนได้จัดห้องเรียนโดยคละความสามารถของนักเรียน ตามนโยบายของโรงเรียน
เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม กับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินวัดความสามารถในการสร้างความรู้ แบบประเมินวัดความรู้ความเข้าใจและแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)การทดสอบสมมุติฐาน t-test dependentและการวิเคราะห์เนื้อหา(content Analysis) และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีพัฒนาต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม สาระความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง กระบวนการคิดและสิ่งสนับสนุน ที่มีเนื้อหาที่เรียงจากง่าย ไปหายาก มีการปฏิบัติงาน เข้าใจได้มีภาพประกอบมีการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า MPASE MODELมีองค์ประกอบ มีหลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคมการทำงานเป็นกลุ่ม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีความเหมาะสมของรูปแบบและกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นสร้างความสนใจ (Motivation : M) เป็นขั้นกระตุ้นเตรียมความพร้อมในการเรียน 2. ขั้นการนำเสนอเนื้อหาจัดประสบการณ์การเรียนการสอนและกระบวนการการสร้างความรู้ (Presentation : P) 3. ขั้นเรียนรู้และทักษะปฏิบัติ (Action Learning : A) เป็นขั้นการฝึกทักษะ ซึ่งประกอบด้วย3 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ขั้นการฝึกทักษะโดยการชี้แนะ(Guided Practice) 2) ขั้นการฝึกทักษะอย่างอิสระ(Independent Practice) 3) ขั้นการประมวลทักษะ(Integrated Practice) 4. ขั้นการดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self directed reading = S) 5. ขั้นประเมินผล Evolution = (E) สาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริมความรู้ ผลตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน( = 4.34 S.D. 0.50) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.28/84.32 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ความสามารถในการการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรมกับรูปแบบการเรียนการสอนตามปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้ หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่า กลุ่มควบคุม ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เรื่อง เรียนรู้สู่ SketchUp โปรแกรม ของกลุ่มทดลอง พบว่า ในภาพรวมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.29 คิดเป็นร้อยละ 85.82