แบบรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงานการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
ผู้เสนอผลงาน นางสาวชุติมา ดียิ่ง
ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
หน่วยงานโ รงเรียนปราสาทอนุสรณ์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต ๑
๑. ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญทางระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก และการศึกษาคือเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคนและสังคม ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างเพิ่มขึ้นและรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา มุ่งพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร(CLT) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีความสุขและมีความสามารถทางภาษาอังกฤษพื้นฐาน สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในสถานการณ์จริงเพื่อเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม และใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายอย่างถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับสถานการณ์ และจากการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนปราสาทอนุสรณ์ พบว่า นักเรียนไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ในการสนทนาวิชาภาษาอังกฤษกับครูผู้สอน จึงทำให้นักเรียนขาดทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้านการสื่อสาร และไม่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์จริง หรือไม่มีความกล้าแสดงออกในการใช้ภาษา
เพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในฐานะที่เป็นผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนปราสาทอนุสรณ์ ได้ออกแบบวิธีการสอนที่เหมาะสมเข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการ จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่า เนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือ ปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า จากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์ อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความสนใจการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Communicative Language Teaching CLT (สุมิตรา อังวัฒนกุล ,2540) วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อการสื่อสารนี้ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษา เพื่อสื่อความหมายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคมมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยครูช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงออก ทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน โดยกระบวนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมีดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อมและอยากรู้อยากเรียนในบทใหม่ 2) ขั้นนำเสนอ (Presentation) นำเสนอศัพท์ใหม่เนื้อหาใหม่ให้เข้าใจทั้งรูปแบบและความหมาย 3) ขั้นฝึก (Practice) ฝึกใช้ภาษาที่เรียนมาแล้วในขั้นนำเสนอ 4) ขั้นการใช้ภาษา (Production) นำคำหรือประโยคที่ฝึกมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบกิจกรรมหลากหลาย 5 )ขั้นสรุป (Wrap up) สรุปสิ่งที่ได้เรียนแล้ว
ผู้สอนจึงเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการนำสื่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนตาม โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงใช้เว็บไซต์ OBEC Content Center นำมาออกแบบกิจกรรมในแผนจัดการเรียนรู้เรื่อง Time ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โดยใช้สื่อวีดิโอที่สามารถนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียงในการจัดการเรียนการสอนและให้ความรู้ผู้เรียน สามารถสร้างความสนใจ แรงดึงดูดในการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษและทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น