ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
ชื่อผู้วิจัย นางฐิติพร เสาสมภพ
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 (4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนภาคปฏิบัติก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test (Dependent)
ผลการพัฒนา พบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 82.22 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 84.44 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.6854 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 68.54
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps พบว่า การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.11 คะแนน ส่วนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.89 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนภาคปฏิบัติก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps พบว่า การหาความแตกต่างของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเรียนเท่ากับ 10.11 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองเรียนเท่ากับ 16.22 คะแนน เมื่อนำคะแนนจากการทดสอบมาหาร้อยละของความก้าวหน้าทักษะการแก้ปัญหาการเรียนภาคปฏิบัติ เฉลี่ยเท่ากับ 6.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่น่าพอใจ แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 30.55 ซึ่งมีค่าเกณฑ์เป็นที่น่าพึงพอใจ คือ มีค่ามากกว่าร้อยละ 25 ขึ้นไป
5. ผลการศึกษาหาความพึงพอใจจากผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 พบว่า โดยรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) = 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.17
คำสำคัญ: กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning, กระบวนการ Gpas 5 Steps, เทคโนโลยีดิจิทัล
Research Title Development of Active Learning Management with using GPAS 5 Steps Process Integrating with Digital Technology Occupations Subject Areas Topic: Creating Pot with Waste Materials, Primary 5, Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1
Researcher Ms. Thitiphorn Saosompop
Year 2023
Abstract
This research has purposes for (1) To find the efficiency of learning management plan with using GPAS 5 Steps Process Integrating with Digital Technology Occupations Subject Areas Topic: Creating Pot with Waste Materials, Primary 5, Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1. (2) To study the index of efficiency of learning management plan with using GPAS 5 Steps Process Integrating with Digital Technology Occupations Subject Areas Topic: Creating Pot with Waste Materials, Primary 5, Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1 activity (3) To compare the outcomes of learning management plan with using GPAS 5 Steps Process Integrating with Digital Technology Occupations Subject Areas Topic: Creating Pot with Waste Materials, Primary 5, Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1 between before learning and after learning. (4) To compare Practical Parts abilities of learning management plan with using GPAS 5 Steps Process Integrating with Digital Technology Occupations Subject Areas Topic: Creating Pot with Waste Materials, Primary 5, Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1 between before learning and after learning. (5) To study the satisfaction of students of learning management plan with using GPAS 5 Steps Process Integrating with Digital Technology Occupations Subject Areas Topic: Creating Pot with Waste Materials, Primary 5, Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1. The target populations are 9 Primary 5 Students Baan Non Tan School, Roi-Et Primary Educational Service Area 1 2nd Semester Academic Year 2023 with using Purposive Random Sampling. The researching tools are learning activity management plan, learning outcome test, Working abilities test and Satisfaction survey. Data analysis by using percentage, average and t-test (Dependent)
Development results:
1. The result of finding of efficiency active learning management plan with GPAS 5 Steps Process from 80/80 criterion, results are effectiveness value of process (E1) equal to 82.22 and outcome of effectiveness (E2) equal to 84.44. Those mean Active Learning management with GPAS 5 Steps process has effectiveness process (E1) and Outcome of effectiveness (E2) and in the standard criterion.
2. The efficiency index analysis results of Active learning activity with the GPAS 5 Steps process found that the efficiency index of Active Learning activities with GPAS 5 Steps process, the efficiency index (E.I) equal to 0.6854. Which mean students has more abilities by 68.54%
3. The comparison results of active learning management with GPAS 5 Steps process between before and after learning found that outcome measure test before learning equal to 10.11 points and after learning equal to 16.89 points. Which mean after learning scores significantly higher than before learning scores, in the level .05 followed the predicted hypothesis.
4. The active learning with GPAS 5 Steps process practical part abilities comparison between before and after learning results found that different between before and after learning, before learning average point equal to 10.11 points in after learning average points equal to 16.22 points. And after compare the scores of the test, we can see the problem solving ability development in the practical part in the average of 6.11, which is higher than the criterion. Which mean learners half more development in the average of 35.55, which is in the criterion (should be more that 20%)
5.The result of learners that participated active learning management with GPAS 5 Steps process activities satisfaction study found that satisfaction of overall learners is in the highest level and in the average of 4.61 and the Standard Deviation equal to 0.17
Keywords: Active learning activities, GPAS 5 Steps process, Digital Technology