บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1). ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม 2). เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม 3). เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม 4). เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม ในการวิจัยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม มีผลการประเมินโดยรวมเฉลี่ย 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 แบบทดสอบวัดทักษะการคิด ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.26 - 0.56 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (D) ตั้งแต่ 0.44 - 0.94 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตรตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 4 ด้าน รวม 20 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า เฉลี่ย (μ )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ )สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
พบว่า ในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนยังขาดการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด
อย่างอิสระ หลากหลายแนวทาง ครูส่วนใหญ่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเนื้อหาในหนังสือเรียน ขาดแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก และส่วนมากยังไม่ให้ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด และนักเรียนส่วนมากยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้ตามกรอบแนวทางการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกิจกรรมที่ครูจัดให้นักเรียนยังไม่มีความลุ่มลึกพอที่จะเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาทักษะด้านการคิด ให้บรรลุผล ครูไม่ได้สนับสนุนให้คิดหาแนวทางหรือแบบแผนการค้นหาคำตอบที่แตกต่างหลากหลายด้วยวิธีการแบบใหม่ จึงส่งผลให้นักเรียนต้องการพัฒนาทักษะด้านการคิดเพิ่มขึ้นอีก ครูผู้สอนจึงจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้นักเรียนกล้าคิด คิดเป็นระบบ อยากเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่
ขั้นตอนที่ 2 การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School มีประสิทธิภาพและความเหมาะสม สามารถพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โดยมีวิธีการสอนThink school 4 ขั้นตอน คือ 1. Do now เตรียมความพร้อมก่อนเรียน 2. Purpose แจ้งจุดประสงค์ สร้างความกระจ่างทั้งต่อครูและนักเรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้ 3. Work Mode ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาด้วยเครื่องมือสอนคิด 4. Reflective Thinking การคิดแบบสะท้อนกลับเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจผลการตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมมีทักษะการคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ขั้นตอนที่ 4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียน สอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนจัดการรู้ ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.54 ,σ = 0.86 ) และเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ ตามแนวทางโรงเรียนสอนคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ( μ = 4.65, σ = 0.79) รองลงมาได้แก่ ด้านครูผู้สอน (μ =4.55, σ = 0.63) ด้านวัดและประเมินผล ( μ = 4.53 , σ = 0.74 ) และลำดับสุดท้ายคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( μ = 4.45 , σ = 0.98 ) โดยประเด็นกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดด้วยตนเองและร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดที่สุด ( μ = 4.87) และพึงพอใจน้อยที่สุด คือการจัดการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง มีอิสระในการคิด ( μ = 4.19)