บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ๒. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักใช้สื่อดิจิทัล (Digital Technology) อย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ มีทักษะในการเลือก รับข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม มีทักษะในการสื่อสาร และแสดงออกทางความคิดที่สร้างสรรค์ นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ จำนวน ๕๗ คน
กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การออกแบบผลงานนวัตกรรม การส่งเสริม นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ จำนวน ๕๗ คน ด้วยรูปแบบ Edutainment Science on TikTok โดยใช้รูปแบบ TFIVE+ ๕Es Learning Model
T = Team การดำเนินงานเป็นทีม ประกอบไปด้วย การทำงานทุกขั้นตอนจะเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางยกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอน และมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันสรุป วิเคราะห์ผลการดำเนินการ F = Focus โดยศึกษาเอกสารหลักสูตร เนื้อหาด้านวิดีโอสั้นประเภทให้ความรู้ที่คนบน TikTok กำหนดความยาวของคลิปวิดีโอจะต้องไม่เกิน ๓ นาที อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล คลิปจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น I = Integration บูรณาการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของนักเรียนแกนนำ นักเรียนกลุ่มสนับสนุน และนักเรียนต่างห้องเรียน การมีส่วนร่วมของฝ่ายเทคนิค ตัดต่อคลิปวิดีโอ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของผู้ปกครอง V = Variety การจัดการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนผ่านสื่อแอพลิเคชั่น นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ศึกษาแนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง E = Evaluation การวัดผลประเมินจากแบบประเมินเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ผ่านสื่อ TikTok ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการศึกษาพบว่า
ตารางที่ ๑
- ตารางแสดงค่าร้อยละของเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านสื่อแอพลิเคชั่น TikTok ด้านผู้สอน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๘๙
- ตารางแสดงค่าร้อยละของเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านสื่อแอพลิเคชั่น TikTok ด้านผู้ผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ ๙๕. ๐๙
ตารางที่ ๒ ตารางแสดงคะแนนประเมินชิ้นงานนักเรียนที่นำเสนอผ่านสื่อแอพลิเคชั่น TikTok คิดเป็นร้อยละ ๙๖. ๐๐