บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
2. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาการนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 และคู่มือฝึกอบรมการใช้การนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ระยะที่ 2 การทดลองใช้การนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 และคู่มือฝึกอบรมและระยะที่ 3 ขยายผลการใช้การนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)และนักเรียนจำนวน 315 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน(Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อ
คู่มือฝึกอบรม ฯ 5) แบบทดสอบ เรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI 4ON-4S Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 6) แบบประเมิน
คุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 7) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 8 ) แบบประเมินความพึงพอใจ
ของครู และ 9) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และพรรณนาความ