1. ความสำคัญและความเป็นมา
ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เครื่องมือที่สำคัญที่พัฒนามนุษย์ ให้มีคุณภาพคือการศึกษา ซึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดให้มีการพัฒนาเด็กตั้งแต่ ระดับปฐมวัยให้มีสมรรถนะและลักษณะที่ดี สมวัยทุกด้าน โดยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21ตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัย ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และท างานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัย ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่ดีรู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ ทั้งนี้การจัดการศึกษายังได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 54 ว่ารัฐต้องดำเนินการให้ เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้ มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ
สาเหตุการตกหล่นและออกกลางคันของเด็ก ประกอบด้วย 11 สาเหตุ ดังนี้ 1) ความจำเป็นของครอบครัว 2) ย้ายถิ่นที่อยู่ 3) รายได้ไม่เพียงพอ 4) ปัญหาสุขภาพหรือความพิการ 5) ปัญหาความประพฤติ
และการปรับตัว 6) ผลกระทบจาก COVID-19 7) เสี่ยงต่อการกระทำผิด 8)การคมนาคมไม่สะดวก 9) สมรส
10) ผลการเรียน และ 11) ผู้ปกครองไม่ใส่ใจ ทั้งนี้ สาเหตุการตกหล่นและออกกลางคันของเด็กมากที่สุด คือ
ความจำเป็นของครอบครัว รองลงมาคือ การย้ายถิ่นที่อยู่ รายได้ไม่เพียงพอ ปัญหาความประพฤติและการปรับตัว และปัญหาสุขภาพหรือความพิการ ตามลำดับ
ดังนั้นภายใต้การขับเคลื่อนตามนโยบายเร่งด่วน (Quick Policy) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดดอนไข่เต่าจึงดำเนินการจัดทำวิธีปฎิบัติและแนวทาง การพัฒนาการดำเนินการป้องกัน เฝ้าระวัง และติดตามช่วยเหลือเด็กออกกลางคัน พาน้องกลับมาเรียนโดยใช้รูปแบบ ว.ด.ต.โมเดล บูรณาการการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานป้องกัน เฝ้าระวัง ติดตามและช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันตามโครงการ พาน้องกลับมาเรียน ตลอดจนพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์ มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนมีทักษะในการดำรงชีวิต