ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายสมโชค หมอดี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ : ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนครบุรี
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี แหล่งข้อมูลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลการสร้างและพัฒนารูปแบบประกอบด้วย ผลจากการจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนที่สำหรับทดลองใช้เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี แหล่งข้อมูลการทดลองใช้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะความสามารถในการคิด แก้ปัญหาและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Metacognition สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (Dependent samples t-test ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเรื่องชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Metacognition รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศศึกษาและการดำเนินชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบสังเคราะห์จากแนวคิดการออกแบบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดหลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Meta cognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี ตามทฤษฎีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ตามกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry Method) ได้แก่ 1) ขั้นเร้าความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4) ขั้นขยายความรู้ และ 5) ขั้นประเมินผล และผนวกกับแบบ Metacognition อีก 3 ขั้นตอน ของ Flavell (1979) ได้แก่ ขั้นที่ 1 บุคคลหรือผู้เรียน (Person) หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนที่จะมีความรู้เกี่ยวกับตนเองในฐานะผู้เรียน ขั้นที่ 2 งาน (Task) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับงานที่จะต้องเรียนรู้ รวมทั้งระดับความยากง่าย ปัญหาอุปสรรคของงาน และขั้นที่ 3 ยุทธศาสตร์ (Strategy) หรือกลวิธีที่ใช้ในการเรียนรู้งาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งกลวิธีของเมตาคอกนิชัน Metacognition เป็นการฝึกให้ผู้เรียน รู้จักวางแผน สามารถควบคุมและตรวจสอบความคิดของตนเอง และการประเมินการคิดของตนเอง
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ตามกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry Method) ได้แก่ 1) ขั้นเร้าความสนใจ 2)ขั้นสำรวจและค้นหา 3)ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4)ขั้นขยายความรู้ และ 5)ขั้นประเมินผล และผนวกกับแบบ Metacognition อีก 3 ขั้นตอน ของ Flavell (1979) ดังนี้ 1) ขั้นเร้าความสนใจ(แบบ Metacognition ขั้นที่ 1 บุคคลหรือผู้เรียน(Person) วางแผนหมายถึง ความสามารถของผู้เรียนที่จะมีความรู้เกี่ยวกับตนเองในฐานะผู้เรียน) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป ซึ่งทั้ง 2 ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป (แบบ Metacognition ขั้นที่ 2 งาน (Task) ความรู้เกี่ยวกับงานที่จะต้องเรียนรู้สามารถควบคุมและตรวจสอบความคิดของตนเอง) และ 4)ขั้นขยายความรู้ 5)ขั้นประเมินผล และทั้ง 2 ขั้นขยายความรู้และขั้นประเมินผล (แบบ Metacognition ขั้นที่ 3 ยุทธศาสตร์ (Strategy) กลวิธีที่ใช้ในการเรียนรู้งาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และการประเมินการคิดของตนเอง) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.15/82.40 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี จากผลการทดลอง พบว่า
3.1 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้น จากก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีทักษะความสามารถในการคิด แก้ปัญหา หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับ Metacognition เพื่อส่งเสริมความ สามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.=0.13)