ชื่อเรื่อง การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่
อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย นายธีรวุฒิ ภูโสภา
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านลาดใหญ่
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .958 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การวางแผนงานด้านวิชาการ รองลงมาคือ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า
1.1 ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดให้มีการจัดทำรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา (รองลงมาคือจัดให้มีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดให้มีการกำหนดระเบียบวิธีการวัดและประเมินผล ตามลำดับ
1.2 ด้านการพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและชุมชน เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือจัดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาได้ศึกษาวิเคราะห์กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตาม สพฐ. กำหนดไว้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดให้มีการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อจะได้ทราบถึงจุดเน้นหรือประเด็นที่สถานศึกษาให้ความสำคัญ ตามลำดับ
1.3 ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดให้มีการวางแผนการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา รองลงมาคือจัดให้มีการจัดหาสื่อการสอนและพัฒนาสื่อการสอน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดให้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ
1.4 ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดให้มีการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ รองลงมาคือจัดการเรียนการสอนให้มีเนื้อหาสาระและกิจกรรมสอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือครูผู้สอนได้ศึกษา วิเคราะห์ คัดเลือกหนังสือและสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ
1.5 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและประสานความร่วมมือเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม รองลงมาคือการจัดบรรยากาศ การใช้สื่อ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการรักการอ่านและใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องตามลำดับ
1.6 ด้านการวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดทำมาตรฐาน กรอบเกณฑ์การประเมินเพื่อการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษา รองลงมาคือจัดให้มีการกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดให้มีการดำเนินการประเมินผลก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงพื้นฐานของผู้เรียน ตามลำดับ
1.7 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีการวางแผนแก้ไขปัญหาการพัฒนา รองลงมาคือจัดให้มีการสรุปผลการแก้ไขปัญหาการพัฒนาและนำไปปรับปรุงทุกขั้นตอน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ จัดให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามลำดับ
1.8 ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา รองลงมาคือจัดระบบแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้เชื่อมต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดทำเอกสาร รวบรวม เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้แก่ครู บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานศึกษาอื่นๆ ตามลำดับ
1.9 ด้านนิเทศการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีการประเมินผลระบบและกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา รองลงมาคือจัดให้มีการประสานกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดระบบนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา ตามลำดับ
1.10 ด้านการแนะแนว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีการติดตามและประเมินผลระบบและกระบวนการแนะแนวในสถานศึกษา รองลงมาคือจัดให้มีการดำเนินการแนะแนวและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ จัดระบบการแนะแนวทางวิชาการและวิชาชีพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ
1.11 ด้านพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดให้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน เป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา รองลงมาคือส่งเสริมให้ครูดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดระบบโครงสร้างองค์กรให้รองรับการจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ
1.12 ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีการดำเนินการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันทางสังคมอื่นรองลงมาคือจัดให้มีการสนับสนุนให้ชุมชน สามารถเลือกภูมิปัญญาและวิทยากรต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดให้ความรู้ เสริมสร้างความคิด และเทคนิคทักษะทางวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพ ตามลำดับ
1.13 ด้านประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือให้บริการด้านวิชาการที่สามารถเชื่อมโยงหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับแหล่งวิชาการในที่ รองลงมาคือสถานศึกษาได้ระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ตามลำดับ
1.14 ด้านส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัวองค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สถานศึกษาได้ส่งเสริมครูให้ความรู้ด้านวิชาการแก่องค์กรอื่น และสถานศึกษาได้ส่งเสริมครูให้ความรู้ด้านวิชาการแก่องค์กรอื่น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือสถานศึกษาได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตามลำดับ
1.15 ด้านจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีการนำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ รองลงมาคือจัดทำคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ จัดให้มีการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างชัดเจน ตามลำดับ
1.16 ด้านการคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือจัดให้มีหนังสือที่มี ภาพ ตาราง แผนภูมิ มีความถูกต้อง ชัดเจน และเป็นปัจจุบัน รองลงมาคือจัดให้มีหนังสือแบบเรียนที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ จัดให้มีหนังสือเป็นภาษาที่นำเสนอต้องถูกต้อง ชัดเจน สื่อความหมายอ่านเข้าใจง่าย ใช้ภาษาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ใช้ศัพท์ถูกต้อง ตามลำดับ
1.17 ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนางานด้านวิชาการ รองลงมาคือจัดให้มีการส่งเสริมให้ครู ผลิต พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนางานด้านวิชาการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือจัดให้มีการประเมินผลการพัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามลำดับ
2. ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จากการตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัยแบบสอบถามปลายเปิด พบว่า
1. โรงเรียนควรให้บุคลากรในโรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
2. ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน ควรจัดให้มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการนิเทศ
3. ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน ควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
4. โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ควรนำ ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการไปใช้ในการวางแผน การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และการสนับสนุนการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเพื่อพัฒนางานวิชาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น