การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อ
เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน (4) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดการ
เรียนรู้ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจภายหลังการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และ (6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนไตรมิตรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2565 จ านวน 25 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดย
ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาประวัติศาสตร์ จ านวน 16 แผน ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่มีค่าอ านาจจ าแนกรายข้อ
ตั้งแต่ 0.143ถึง 0.622และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96(3)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่มีค่าอ านาจจ าแนกรายข้อตั้งแต่ 0.143ถึง 0.622 และ
ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบทีและการทดสอบไคสแควร ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้มี 4 ขั้นตอน
ประกอบด้วย ขั้น 1 การสร้างความสนใจ ขั้น 2 การส ารวจและค้นหา ขั้น 3 อธิบาย และขั้น 4 การประเมินผล
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้มีประสิทธิภาพ
มีค่าเท่ากับ 86.82/84.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนด
3. ประสิทธิภาพการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมี
นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนไตรมิตร มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชา
ประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้อยู่ในระดับมาก
6. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน พิจารณาได้จาก
ค่า Chi-Square = 217.671 และ Sig = 0.000