ชื่อผู้วิจัย นางสาวเนตรชนก อินต๊ะหล้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนสารภีพิทยาคมยังประสบปัญหาและไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เห็นได้จากรายงานการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของสถาบันการทดสอบแห่งชาติ (O-net) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนขาดทักษะการคิด ไม่ว่าจะเป็นคิดวิเคราะห์ การคิดอยางมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด โปรแกรม The Geometers Sketchpad (GSP) เป็นเครื่องมืออีกประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนําเสนอภาพเคลื่อนไหว(Animation) มาใช้อธิบายเนื้อหายากๆให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ตลอดจนเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเองได้จากบทเรียนปฏิบัติการที่สร้างขึ้นสําหรับนําไปใช้ในการสร้างสรรค์การสํารวจและการวิเคราะห์เนื้อหาต่างๆในวิชาคณิตศาสตร์ ช่วยให้ผู้เรียนมีอความคิดรวบยอดเกี่ยวกับทฤษฎีบทและสมบัติต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสารภีพิทยาคม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จํานวน 6 ห้อง จํานวนนักเรียน 198 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสารภีพิทยาคม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จํานวนนักเรียน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1).แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 2).สื่อการสอนเรื่อง โจทย์ปัญหาปริมาตรของทรงกระบอก โดยใช้โปรแกรม GSP
3).ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4).แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาปริมาตรของทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สื่อโปรแกรม GSP โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปคํานวณสถิติ t test for Dependent simples
ผลการวิจัย
ผลการเปรียบเทียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาปริมาตรของทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สื่อโปรแกรม GSP ปรากฎว่า ผลการเปรียบเทียบเทียบทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาปริมาตรของทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการสอนโดยใช้สื่อโปรแกรม GSP สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม GSP อยางมีนัยสําคัญสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05