ผู้วิจัย นางจวนทิพย์ แสนใจ
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบีที่ 5/8 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster RandomSampling) เนื่องจากการจัดนักเรียนแต่ละห้องเรียน เป็นการจัดแบบคละความสามารถ เป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการของนักเรียนและแบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนในรายวิชาฟิสิกส์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ 2 (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว32104 เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅ )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่า t (t- test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย ปรากฏผล ดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ได้จากครูผู้สอนในรายวิชาฟิสิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ควรให้ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและค้นหาความรู้ด้วยตนเอง มีการทางานเป็นกระบวนการกลุ่ม และสามารถนาความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้
2. ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย คำนำ สารบัญ คำชี้เกี่ยวกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ บทบาทนักเรียน ขั้นตอนการศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระสำคัญ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะของผู้เรียน สาระการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน บัตรกิจกรรม บัตรบันทึกกิจกรรม บัตรเนื้อหา บัตรงาน บัตรกิจกรรมเสริม บัตรสรุปความรู้ บรรณานุกรม ภาคผนวก เฉลยบัตรกิจกรรม เฉลยบัตรบันทึกกิจกรรม เฉลยบัตรงาน เฉลยบัตรกิจกรรมเสริม แนวคำตอบบัตรสรุปความรู้ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.57/82.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 82.71/83.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกชุด แสดงว่าผู้เรียนมีความสนใจต่อชุดกิจกรรม และกระตือรือร้นต่อการเรียนและการปฏิบัติงานกลุ่ม
4. ผลการใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีคะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.79 คิดเป็นร้อยละ 84.47 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีคะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.34 คิดเป็นร้อยละ 84.47 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีคะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.18 คิดเป็นร้อยละ 80.60 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X ̅ = 4.17, S.D. = 0.93)