ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย : นางภาวิณี หมั่นกิจ
หน่วยงาน : โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบความสามารถในการแก้ปัญหา และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปญหาและเงื่อนไขด้านการจัดการเรียนรูคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ครูผู้สอน สวนมากยัง ไม่ใหความสำคัญในการจัดการเรียนรู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน และนักเรียน สวนมากยังไม่ได้รับการสนับสนุนใหเรียนรู ตามกรอบแนวทางการแกปญหาคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ จึงสงผลให้ผู้เรียนตอง
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งกิจกรรมที่ครูจัดใหนักเรียนยังไม่มีความสอดคล้องมากพอที่จะเชื่อมโยงไปสู่การความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนใหบรรลุผล
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ ดังนี้
1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุนโดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเสนอปัญหา 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ออกแบบและนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา 4) ขั้นสรุปความคิดรวบยอด ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 80.63/80.45
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถใน
การแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริม ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิเคราะห์การประเมินเพื่อรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด